ขนมต้ม
ขนมต้ม
พ่อแม่ท่านเลี้ยงมายาก จะกินขันหมากให้ได้
ไม่ได้กินหนมต้มอมน้ำตาล น้องไม่รับประทานของใคร
พวงเจ้าเอ๋ยมาลัย ถอยหลังกลับไปเถิดเอย
ขนมต้มขาวนั้น ใช้แป้งข้าวเหนียวปั้นเป็นก้อนกลม ใส่ไส้น้ำตาลหม้อ ลงไปต้มให้สุก โรยด้วยมะพร้าวขูด ต่อมาจึงทำหน้ากระฉีก ซึ่งเป็นมะพร้าวขูดมาเคี่ยวกับน้ำตาลหม้อจนเหนียว ใช้เป็นไส้แทน ส่วนขนมต้มแดง ใช้แป้งข้าวเหนียวแผ่เป็นแผ่นแบน ต้มให้สุก ราดด้วยหน้ากระฉีกที่ค่อนข้างเหลว
ขนมที่เรียกว่าขนมต้มของภาคใต้จะต่างไปจากภาคกลาง ขนมต้มของภาคใต้จะเป็นข้าวเหนียวผสมน้ำกะทิห่อใบกะพ้อแล้วเอาไปต้ม บางท้องที่เรียกห่อต้ม ขนมที่ทำแบบนี้ทางภาคกลางเรียกข้าวต้มมัดหรือข้าวต้มผัด
สูตรขนม : ขนมต้มใบเตย
* แป้งข้าวเหนียว 2 ถ้วย* น้ำใบเตยคั้น 3 ช้อนโต๊ะ
* มะพร้าวขูดสำหรับทำไส้ขนม 2 1/2 ถ้วย
* น้ำตาลปี๊บ 1 ถ้วย
* น้ำตาลทราย 1/2 ถ้วย
* มะพร้าวขูดขาวสำหรับคลุกขนม 2 ถ้วย
* เกลือป่น 1/4 ช้อนชา
* น้ำสะอาด 3 ช้อนโต๊ะ
* เทียนอบขนม
1. ตั้งกระทะทองเหลืองบนไฟร้อนปานกลาง ใส่น้ำตาลปี๊บ, น้ำตาลทราย และมะพร้าวขูด (สำหรับทำไส้) กวนให้น้ำตาลละลายหมด เคี่ยวประมาณ 15-20 นาที จนมะพร้าวอิ่มน้ำตาล จึงปิดไฟ ทิ้งไว้ให้เย็น และนำมาปั้นเป็นก้อนกลม เรียงใส่ภาชนะปิด จากนั้นจึงนำไปอบด้วยควันเทียน พักไว้
2. นำมะพร้าวขูดขาวสำหรับใช้คลุกกับขนม ไปนึ่งให้ร้อน เสร็จแล้วนำไปคลุก กับเกลือป่น พักไว้
3. เตรียมทำส่วนของตัวแป้ง โดยผสมแป้งข้าวเหนียวกับน้ำเปล่าและน้ำใบเตยที่ละน้อย ลงในชามใบใหญ่ ค่อยๆนวดจนนุ่ม เหนียว หาฝาปิด พักไว้รอปั้น
4. ปั้นส่วนผสมของตัวแป้งเป็นก้อนกลม กดให้แบนเป็นแผ่นกลมบาง (อย่าให้แป้งหนาเกิน) และวางไส้ที่ปั้นรอไว้ (ขั้นตอนที่ 1) ลงตรงกลางแผ่นแป้ง เสร็จแล้วห่อไส้ให้มิด ทำจนหมด
5. ต้มน้ำในหม้อบนไฟปานกลาง นำก้อนแป้งห่อไส้ที่ปั้นรอไว้ (ขั้นตอนที่ 4) ลงไปต้มจนสุก (เมื่อตัวขนมสุกจะลอยขึ้น) ใช้ทัพพีตักขึ้น จากนั้นนำแป้งที่สุกแล้วไปคลุกกับมะพร้าวนึ่งคลุกเกลือ (ขั้นตอนที่ 2) เป็นอันเสร็จ
6. จัดขนมใส่จาน เสริฟเป็นของหวานหลังมื้ออาหาร หรือเป็นของว่างในวันสบายๆ
5. ต้มน้ำในหม้อบนไฟปานกลาง นำก้อนแป้งห่อไส้ที่ปั้นรอไว้ (ขั้นตอนที่ 4) ลงไปต้มจนสุก (เมื่อตัวขนมสุกจะลอยขึ้น) ใช้ทัพพีตักขึ้น จากนั้นนำแป้งที่สุกแล้วไปคลุกกับมะพร้าวนึ่งคลุกเกลือ (ขั้นตอนที่ 2) เป็นอันเสร็จ
6. จัดขนมใส่จาน เสริฟเป็นของหวานหลังมื้ออาหาร หรือเป็นของว่างในวันสบายๆ
yengo หรือ buzzcity
ขนมครก
ขนมครก
ประวัติของขนมครก
มีหลักฐานว่าขนมครกเป็นที่นิยมแพร่หลายมาตั้งแต่สมัยอยุธยา มีการทำเตาขนมครกขายตั้งแต่ยุคนั้น ขนมครกแต่เดิมใช้ข้าวเจ้าแช่น้ำโม่รวมกับหางกะทิ ข้าวสวย และมะพร้าวทึนทึกขูดฝอย ผสมเกลือเล็กน้อยใช้เป็นตัวขนม ส่วนหน้าของขนมครกเป็นหัวกะทิ ขนมครกชาววังจะมีการดัดแปลงหน้าขนมครกให้แปลกไปอีก เช่น หน้ากุ้ง (แบบเดียวกับข้าวเหนียวหน้ากุ้ง) หน้าไข่ หน้าหมู (แบบเดียวกับไส้ปั้นสิบ) หน้าเผือก หน้าข้าวโพด หน้าต้นหอมส่วนผสมทำตัวแป้ง
1. แป้งข้าวเจ้า 1 ถ้วยตวง2. ข้าวสุก 1/2 ถ้วยตวง
3. น้ำสะอาด 2 ถ้วยตวง
4. มะพร้าวขูด 1/2 ถ้วยตวง
5. เกลือป่น 1 ช้อนชา
6. มันหมูห่อผ้าขาว (เช็ดหลุมเตาก่อนหยอดตัวแป้ง, อาจใช้น้ำมันพืชแทนได้)
7. ต้นหอมซอย, เมล็ดข้าวโพด, เผือก, ฟักทอง (สำหรับโรยหน้าขนมครก)
วิธีผสมแป้ง
ค่อยๆ เทแป้งข้าวเจ้า ลงผสมกับน้ำสะอาด น้ำปูนใส คนจนกว่าจะเข้ากัน จากนั้นเติมกะทิ น้ำตาลโตนด เกลือป่น แล้วคนให้เข้ากันดีส่วนผสมทำกะทิหยอดหน้า
1. หัวกะทิ 1 ถ้วยตวง2. น้ำตาลทราย 1/2 ถ้วยตวง
3. เกลือป่น 1 ช้อนชา
วิธีทำกะทิสำหรับหยอดหน้า
ผสม หัวกะทิ หางกะทิ เกลือป่น น้ำตาลทราย เข้าด้วยกัน นำไปตั้งไฟ คนให้น้ำตาลและเกลือละลาย จากนั้นยกลง ทิ้งไว้ให้เย็น ใส่ภาชนะเตรียมหยอดหน้าขนมครกวิธีทำขนมครก ทีละขั้นตอน
1. ทำตัวแป้งก่อน โดยเอาข้าวสารซาวให้สะอาด ผสมกับข้าวสุก, แป้งข้าวเจ้า, มะพร้าว และเกลือ ใส่กาละมังพักไว้2. ต้มน้ำให้เดือด แล้วเอามาผสมในกาละมังที่ใส่ส่วนผสมไว้ ใช้ไม้พายคนให้ส่วนผสมทั้งหมดเข้ากันทั่ว
3. ทิ้งไว้ให้เย็น แล้วเอาไปโม่ก็จะได้แป้งขนมครกตามต้องการ
4. ทำกะทิหยอดหน้าโดยผสมหัวกะทิ, น้ำตาลทรายและเกลือป่นเข้าด้วยกัน เสร็จแล้วพักไว้
5. วิธีทำ นำกระทะหลุมที่เตรียมไว้ตั้งไฟจนร้อนได้ที่ จึงเช็ดหลุมด้วยน้ำมันจากนั้นจึงหยอดแป้งลงไป (อย่าหยอดจนเต็ม เพราะต้องหยอดหน้ากะทิภายหลัง) ปิดฟาทิ้งไว้จวนสุกจึงเปิดฝาออกและหยอดด้วยหน้ากะทิที่เตรียมไว้ ถ้ามีต้นหอมหรืออย่างอื่นเพิ่มเติมก็โรยลงบนหน้ากะทิ ปิดฝารอสักพักจนสุกจึงแคะออก ควรทานขณะร้อนจะรสชาตดีกว่าทิ้งไว้จนเย็น
yengo หรือ buzzcity
ขนม กะละแม หรือ กาละแม
ขนม กะละแม หรือ กาละแม
ขนมกะละแม หรือ กาละแมเป็นขนมไทยที่มีประวัติความเป็นมาอันยาวนาน การทำขนมกาละแมในสมัยก่อนนิยมทำกันในงานบุญพิธีต่าง ๆ เช่น งานปีใหม่ ทอดกฐิน หรือสงกรานต์ และงานอื่น ๆ อีกมาก โดยใช้น้ำตาลเหลวเรียกว่าน้ำตาลโตนด ใส่กะทิ ใส่แป้ง เมื่อก่อนใช้โม่กับมือที่เรียกว่า “ครกบด” เคี่ยวน้ำตาล ประมาณ 2 – 3 ชั่วโมงจนเป็นยวงเหนียวข้นได้ที่ เมื่อก่อนกาละแมจะตัดเป็นชิ้นสี่เหลี่ยมบรรจุถุงขายต่อมาได้มีการปรับปรุงใช้น้ำตาลทรายขาว น้ำตาลปี๊บทำเป็นกาละแมสีขาว และเปลี่ยนรูปแบบจากการตัดเป็นชิ้นๆ มาห่อพลาสติกเป็นรูปทรง “พีรามิด” และได้มีการเปลี่ยนชื่อจาก “ยาหนม”มาเป็น “กาละแม”เพื่อให้ฟังดูไพเราะขึ้น
ยังไม่ทราบว่ากะละแมมีที่มาจากขนมหวานของชาติใด บางท่านกล่าวว่ามาจากขนมกาลาเม็กของฝรั่งเศส หรือคาราเมลของอังกฤษ หรือเกละไมของชาวมลายู พุทธทาสภิกขุตั้งข้อเสนอว่าน่าจะมาจากขนมฮูละวะของอินเดียที่มีส่วนผสมเป็นนม แป้ง และน้ำตาล
กะละแมมี 2 ชนิด แบ่งตามวิธีการกวนคือ
- กะละแมเม็ด (ดั้งเดิม) กะละแมแบบนี้สีเข้ม ขนมอาจจะมีลักษณะเป็นจุดๆแทรกอยู่- กะละแมแป้ง แต่ใส่แป้งข้าวเหนียวแทนเม็ดข้าวเหนียว กะละแมที่กวนขายในปัจจุบันส่วนใหญ่เป็นกะละแมแป้งเพราะทำง่ายกว่า
เครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำขนมกาละแม
1. แป้งข้าวเหนียว2. น้ำตาลทราย
3. น้ำกะทิ
4. ตอก
5. เชือก
6. กะทะ
7. ไม้พายขนม
8. กะละมัง
9. ตะแกรง
ขันตอนการทำขนมกาละแม
1. ตำกาบมะพร้าวที่เผาไว้ให้แหลกใส่น้ำลงไป 1 ถ้วยตวงคนให้น้ำสีดำออกแล้วกรองด้วยผ้าขาวบาง จะได้น้ำสีดำทำจากกาบมะพร้าว2. ผสมแป้งข้าวเหนียว แป้งถั่วเขียว เข้าด้วยกันในกระทะทอง ใส่น้ำสีดำ นวดแป้งให้เนียนผสมน้ำตาลทรายหัวกะทิคนให้เข้ากัน
3. ยกส่วนทั้งหมดตั้งไฟอ่อนๆ กวนแป้งให้เหนียวและล่อนออกจากกระทะจึงยกลง
4. เตรียมถาดสำหรับใส่ขนมทาน้ำมันพืชให้ทั่วเทขนมที่กวนไว้ลงในถาดเกลี่ยให้ เรียงเสมอกัน แล้วพักไว้ให้เย็นจึงตัดเป็นชั้นสี่เหลี่ยม ตามต้องการ
yengo หรือ buzzcity
สมัครสมาชิก:
บทความ
(
Atom
)