ขนมหวานพื้นเมืองขนมกง

ขนมหวานพื้นเมืองขนมกง


ขนมกง หรือ ขนมไข่ปลา คือขนมหวานพื้นเมืองชนิดหนึ่งของทางภาคใต้ ของประเทศไทย ที่ทำมาจากแป้งข้าวเหนียว โดยถือเป็นหนึ่งในขนมทั้งห้าชนิดที่มีความสำคัญในการประกอบพิธีกรรมในประเพณีสารทเดือนสิบมุ่งหมายให้เป็นเครื่องประดับของบรรพบุรุษ



ขนมกง หรือบางคนเรียกว่า ขนมกงเกวียน เป็นขนมไทยโบราณมีลักษณะเป็นวงกลมและมีเส้นไขว้พาดคล้ายกับล้อเกวียน นิยมแพร่หลายมากในเขตภาคกลางของประเทศไทย เพราะเป็นขนมมงคลอย่างหนึ่งที่ใช้ในพิธีขันหมากงานแต่งงาน ซึ่งหมายถึงการหมุนไปข้างหน้า หรือความก้าวหน้านั่นเอง นอกจากความหมายในพิธีแล้ว ขนมกงยังมีรสชาติที่อร่อยไม่เหมือนใครอีกด้วย ปัจจุบันหาซื้อมารับประทานได้ยาก เพราะไม่ค่อยนิยมทำกัน อย่างไรก็ตาม การทำขนมกงนั้นไม่ยากเลย ใครๆก็ทำได้

ประวัติขนมกง

ขนมกงเป็นขนมโบราณ มีมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาตอนต้น จากคำให้ การขุนหลวงหาวัดประดู่ทรงธรรม ในเอกสารหอหลวงสมัยอยุธยา "ย่านป่าขนม ชาวบ้านนั้นทำขนมขายและนั่งร้านขายขนมชะมด กงเกวียน ภิมถั่ว สำปนี" ขนมกงเกวียนก็คือขนมกงนั่นเอง รูปร่างก็เป็นล้อเกวียนสมชื่อสำหรับคนไทย ขนมกงดูจะแพร่หลายมากเป็นพิเศษในจังหวัดภาคกลาง โดยเพราะอย่างยิ่งแถบจังหวัดอยุธยา อ่างทอง สุพรรณบุรี สิงห์บุรี ฯลฯ เป็นที่รู้กันดีว่าขนมกงเป็น ขนมมงคล ที่นิยมใช้ในพิธีแต่งงานในฐานะขนมขันหมาก นอกจากขนมกงวงเล็ก ที่ทำกินกันตามปกติแล้วยังมีขนมกงขนาดใหญ่ ที่ทำขึ้น ในโอกาสพิเศษอย่างงานแต่ง นอกจากขนาดที่ใหญ่แล้ว บางที่จะประดิษฐ์โดยการเอาตอกมาเสียบสี่มุมของตัวกง รวบปลายตอกแล้วมัดยอดด้วยตอกให้เหมือนทรงกระโจม นำแป้งที่ใช้ชุบตัวกงมาสลัดในกระทะให้เป็นแพฝอย ๆ

นำแพแป้งที่ลักษณะเหมือนแหนี้มาคลุมตัวกระโจมดังกล่าว เพิ่มความสวยงามไปอีกแบบ จากนั้นก็จะนำใส่สาแหรกหาบไปในพิธีแห่ขันหมากขนมกงขาดไม่ได้ในงานหมั้นงานแต่ง จนคนไทยสมัยก่อน ถึงกับ มีสำนวนพูดสัพยอกว่า "เมื่อไรจะได้กินขนมกงเสียที" ซึ่งหมายความว่าเมื่อไรจะแต่งงานนั้นเอง ขนมกงเป็นขนมมงคล ด้วยเชื่อว่าจะทำให้คู่บ่าวสาวมีใจคอหนักแน่นและครองรักกันตลอดไปเหมือนกงล้อของเกวียนที่หมุนไปเรื่อย ๆ สมัยก่อน ในงานหมั้นงานแต่งจะใช้ขนมกงควบคู่กับขนมสามเกลอ แต่ปัจจุบันขนมสามเกลอเสื่อมความนิยมไปมากแล้ว คงเหลือแต่ขนมกงที่คนไทยภาคกลางยังนิยมใช้เป็นขนมแต่งงานกันแพร่หลาย ดังนั้นแถวอยุธยา อ่างทอง สุพรรณบุรี จึงมีแม่ค้าทำขนมกงขายตามสั่ง ซึ่งจะมีมากในเดือนที่นิยมพิธีแต่งงาน อย่างไรก็ตามทุกวันนี้จะหาศิลปินนักทำขนมกงอร่อย ๆ ไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ


ส่วนผสมขนมกง

ถั่วเขียว 1/2 ลิตร
แป้งข้าวเหนียว 1 ถ้วย
แป้งข้าวเจ้า 3 ถ้วย
น้ำตาลปี๊บ 2 ถ้วย
น้ำกะทิ 2 ถ้วย
เกลือป่น 1/2 ช้อนชา
ไข่ไก่ 1 ฟอง
ปูนแดง 1/2 ช้อนชา
ผงฟู 2 ช้อนชา

วิธีทำขนมกง

1. นำถั่วเขียวคั่วใส่ลงในกะทะ ใช้ไฟปานกลาง แล้วคั่วถั่วจนกรอบ แล้วนำมาบดให้ละเอียด
2. ผสมกะทิและน้ำตาลเข้าด้วยกัน ใส่กะทะตั้งไฟ กวนจนน้ำตาลละลายและกะทิเดือด
3. ใส่ถั่วเขียวบดและแป้งข้าวเหนียว กวนจนเข้ากันดีและเหนียวปั้นได้ ยกลงพักให้เย็น
4. ปั้นเป็นเส้นยาว แล้วขดเป็นวงกลม และปั้นอีก 2 เส้น แล้ววางพาดบนวงกลมเป็นกากบาท
5. ผสมแป้งข้าวเจ้า ไข่แดง ผงฟู ปูนแดง และเกลือ แล้วคนให้เข้ากัน
6. นำขนมกงมาชุบส่วนผสมแป้ง แล้วทอดจนแป้งสุกเหลือง พักไว้ให้สะเด็ดน้ำมัน


yengo หรือ buzzcity

ขนมไทย ขนมพื้นบ้านภาคใต้ขนมกุหลี

ขนมไทย ขนมพื้นบ้านภาคใต้ขนมกุหลี



ขนมกุหลีเป็นขนมพื้นบ้านภาคใต้ชนิดหนึ่ง ทำจากแป้งข้าวเหนียว โดยนำข้าวเหนียวไปโม่ให้ละเอียด ขยำแป้งที่ได้ลงบนใบตอง นำไปนึ่งให้สุก โรยหน้าด้วยมะพร้าวขูดคลุกเกลือและข้าวเหนียวคั่ว เมื่อจะรับประทานจึงตัดเป็นชิ้น จิ้มกับน้ำเชื่อมที่เคี่ยวจนเหนียว

ขนมกุหลี เป็นขนมที่นิยมรับประทานในตอน เช้า หรือบ่าย ส่วนประกอบ แป้งข้าวเหนียว น้ำตาลโตนด มะพร้าว เกลือ

yengo หรือ buzzcity

ขนมไทย กล้วยแขก

ขนมไทย กล้วยแขก




กล้วยแขก เป็นขนมไทยชนิดหนึ่งซึ่งปรุงโดยการนำกล้วยตัดเป็นแผ่นหรือหั่นคริ่งแล้วมาชุบน้ำแป้งซึ่งมีส่วนผสมของแป้งข้าวเจ้า มะพร้าวขูดขาว งา (คั่วก่อนเพื่อเพิ่มความหอม) น้ำตาล และกระทิ แล้วจึงนำไปทอดในน้ำมันร้อนในกระทะ ใช้รับประทานเป็นอาหารว่าง

ส่วนผสมกล้วยแขก

กล้วยน้ำว้าห่าม 1 หวี
แป้งข้าวเจ้า 2 ถ้วย
แป้งสาลี 1/2 ถ้วย
เกลือป่น 1 ช้อนชา
ผงฟู 1 ช้อนชา
น้ำตาลทราย 2 ถ้วย
น้ำปูนใส 2 ถ้วย
หัวกะทิ 1 ถ้วย
น้ำมันพืช 4 ถ้วย

วิธีทำกล้วยแขก

1. ปอกเปลือกกล้วยน้ำว้า แล้วหั่นตามยาวเป็นชิ้นบางๆ 3-4 ชั้น ต่อ 1 ลูก แช่น้ำปูนใส 15 นาที
2. นำแป้งข้าวเจ้า แป้งสาลี เกลือ ผงฟู และน้ำตาล ผสมเข้าด้วยกัน คนจนส่วนผสมเข้ากัน
3. เทน้ำปูนใส และหัวกะทิลงไปในส่วนผสมแป้ง คนจนน้ำตาลและแป้งละลายเข้าด้วยกันเป็นเนื้อเดียว
4. นำกระทะตั้งไฟปานกลาง ใส่น้ำมันลงไป รอให้น้ำมันเดือด
5. นำกล้วยที่หั่นเอาไว้ ชุบลงในแป้ง แล้วทอดลงในกระทะ
6. ทอดกล้วยจนเหลือง และสุก กรอบน่ารับประทาน แล้วตักออกให้สะเด็ดน้ำมัน
7. นำกล้วยทอดใส่จาน พร้อมเสิร์ฟ รับประทานเป็นอาหารว่างได้


yengo หรือ buzzcity

ขนมหวานของไทย ขนมกล้วย

ขนมหวานของไทย ขนมกล้วย


ขนมกล้วย หรือเข้าหนมกล้วย เป็นขนมชนิดหนึ่งที่ทำจากแป้งข้าวเจ้า ส่วนผสมหลักมีกล้วยน้ำว้าสุกงอม แป้งข้าวเจ้า และน้ำตาลทราย นำมาคลุกเคล้าและนวดให้เข้ากัน



ส่วนผสม ขนมกล้วย
กล้วยน้ำว้าสุก 500 กรัม
น้ำตาลทราย 500 กรัม
แป้งข้าวเจ้า 300 กรัม
แป้งมัน 100 กรัม
มะพร้าว 1 ถ้วย
กะทิ 3 ถ้วย
เกลือป่น 1 ช้อนชา

วิธีทำ ขนมกล้วย
แกะเปลือกกล้วยน้ำว้า ใส่ภาชนะ ใส่แป้งข้าวเจ้า ใส่น้ำกะทิ คนให้เข้ากัน
นวดส่วนผสมทั้งหมดให้เข้ากันและขยำกล้วยให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ ใส่น้ำตาลทราย แล้วนวดให้เข้ากันจนน้ำตาลละลาย
ฉีกใบตองกว้าง 6 นิ้ว ทำเป็นกรวย แล้วใช้ไม้กลัด กลัดใบตอง ตักส่วนผสมใส่ลงในกรวยให้เต็ม
วางกรวยขนมในรูของลังถึง โรยมะพร้าวขูด นึ่งไฟกลาง ประมาณ 20 นาที

yengo หรือ buzzcity

ขนมหวานไทย ขนมกลีบลำดวน

ขนมหวานไทย ขนมกลีบลำดวน



กลีบลำดวนเป็นขนมไว้กินเล่นเพลิน ๆ เป็นคุกกี้ในแบบไทย ๆ ชื่อว่า กลีบลำดวน หอมกลิ่นควันเทียน เคี้ยวกรุบกรอบ ทำแล้วเก็บใส่กล่องไว้รับประทานได้เป็นเดือน ๆ อีกด้วย หรือจะฝึกฝนไว้ทำเป็นของขวัญของฝากก็ดูดีไม่น้อยเลยทีเดียว ไปดูสูตรกันเลย


ส่วนผสม

แป้งเค้ก ๒ ถ้วยตวง
นํ้าตาลไอซิ่ง ๑ ถ้วยตวง
ไข่แดง ๑ ถ้วยตวง
นํ้ามันหมูเจียวใหม่ๆ ๘ ช้อนโต๊ะ
เกลือป่น ๑/๒ ช้อนชา
เทียนอบ
สีผสมอาหาร สีเขียว ชมพู ม่วง ตามชอบ

วิธีทำ

๑. ร่อนแป้งเค้ก ๒ ครั้ง ครั้งที่ ๓ ร่อนพร้อมกับเกลือป่น
๒. ใส่ไอซิ่ง ไข่แดง น้ำมัน นวดจนเข้ากันดี (ขนมนี้ไม่ต้องนวดมาก เพียงแต่ตะล่อมให้เข้ากันเป็นก้อนแน่น ๆ เท่านั้น คลุมด้วยผ้าขาวบางไว้)
๓. ปั้นเป็นก้อนกลมเล็กๆ เท่ากัน พักไว้ เวลาปั้น ต้องปั้นให้แน่น เวลาผ่าจะได้ไม่แตก
๔. ผ่าแป้งเป็น ๕ ส่วน แล้วนำ ๓ ส่วน มาวางชนกัน หงายทางด้านแหลมขึ้น
๕. ปั้นแป้งอีก ๑ ก้อน เท่าเมล็ดข้าวโพด วางไปตรงกลาง ทำเป็นเกสร
๖. ใช้ปลายมีดบั้งเป็นเกสร ๓ แฉก ผสมสีชมพู หรือเขียวตามชอบ แต้มกลางเกสร
๗. นำเข้าอบโดยที่ถาดอบไม่ต้องทาไขมัน อบไฟ ๒๐๐-๒๕๐ °ฟ ประมาณ ๑๐ นาที พอให้เป็นสีนวล ทิ้งไว้ให้เย็น อบด้วยควันเทียน
๘. เก็บขนมใส่กล่องที่มีฝาปิดให้แน่น อย่าให้ถูกความชื้น

สูตรนี้ทำขนมรับประทานได้ ๘-๑๐ คน

yengo หรือ buzzcity

ขนมหวานของไทย กระยาสารท

ขนมหวานของไทย กระยาสารท

ขนมกระยาสารท เป็นชื่อขนมที่คนไทยรู้จักและทำกันมาตั้งแต่ครั้งบรรพบุรุษ เพราะเป็นขนมที่เกี่ยวข้องกับประเพณีของไทย คือการทำบุญสารท ซึ่งตรงกับวันแรม 15 ค่ำ เดือน 10 (สิ้นเดือนสิบ) ของทุกปี คนที่นับถือศาสนาพุทธ จะต้องนำขนม กระยาสารทไปทำบุญใส่บาตร จัดเป็นขนมที่ชาวพุทธทุกครัวเรือน ได้ทำสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน



ในอดีตขนม “กระยาสารท” จะทำขึ้นแค่ปีละครั้ง เฉพาะช่วงเทศกาลทำบุญวันสารทไทย ตรงกับแรม 15 ค่ำ เดือน 10 ทว่า ปัจจุบันขนมไทยโบราณชนิดนี้ ได้ปรับปรุงพัฒนาให้เป็นขนมกินเล่นคู่บ้าน หรือสินค้าของฝากประจำท้องถิ่น อย่างเช่นยี่ห้อ “อำนวยขนมไทย” ของผู้ประกอบการ ใน จ.ปทุมธานี ยกระดับขนมพื้นบ้านไม่ว่าจะเป็นรูปแบบ การผลิต และบรรจุภัณฑ์ จนประสบความสำเร็จยืนหยัดมานานกว่า 10 ปี ขึ้นแท่นแถวหน้าของประเทศ




วิธีการทำขนมกระยาสารท


อุปกรณ์

กระทะ เตา ฟืน แบบพิมพ์ที่ใส่กระยาสารท ถุงพลาสติก ยางรัด มีด

เครื่องปรุง (ส่วนผสม)

กะทิ 5 กิโลกรัม น้ำตาลปีบ 7 กิโลกรัม

แบะแซ 7 กิโลกรัม ถั่วลิสง 15 กิโลกรัม

งา 2 กิโลกรัม ข้าวตอก 0.5 กิโลกรัม

ข้าวเม่า 3 กิโลกรัม

วิธีการทำกระยาสารท

1. นำถั่วลิสงไปคั่วให้สุก กะเทาะเปลือกออกให้หมด และคลึงให้ถั่วแตกออกเป็นซีก

2. นำงาไปคั่วให้สุก มีสีเหลืองอ่อนและหอม

3. นำกะทิ น้ำตาลปีบ แบะแซ ใส่ในกระทะที่ตั้งไฟตามส่วนผสมดังกล่าว แล้วเคี่ยวให้เข้ากัน โดยเคี่ยวประมาณ 1 ชั่วโมง

4. นำถั่วลิสงคั่ว งาคั่ว ข้าวเม่า ข้าวตอก ใส่คนไปแล้วคลุกเคล้าให้เข้ากัน โดยใช้ไฟอ่อน ๆ เมื่อส่วนผสมต่าง ๆ เข้ากันดีแล้ว ให้ยกกระทะลง

5. ตักใส่แบบพิมพ์ ตามแบบที่เราต้องการหรือใส่ถุงพลาสติกเลยก็ได้ แล้วแต่ความต้องการของตลาด แต่ส่วนมากจะตักใส่แบบพิมพ์ และตัดเป็นชิ้น ๆ เล็ก ๆ เพื่อสะดวกในการรับประทาน


ความสำคัญ

การกวนกระยาสารท กล้วยไข่ ทางจังหวัดกำแพงเพชรได้จัดขึ้นตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๒๔ เป็นต้นมา ในวันงานจะมีกิจกรรมอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น ทอดผ้าป่าแถว การประกวดพืชผลทางการเกษตร เช่น กล้วยไข่ รวมทั้งการแสดงสินค้าพื้นเมือง

พิธีกรรม

ชาวบ้านจะนำเอาพืชผลทางการเกษตรที่ผลิตได้มาร่วมกันทำกระยาสารท ได้แก่ ข้าวเม่า ข้าวตอก ถั่วงา น้ำตาล น้ำผึ้ง มาร่วมกันกวน หลังจากนั้นจึงนำถวายพระสงฆ์และผู้มาร่วมงานตามลำดับ

สาระ

กระยาสารท เป็นอาหารที่ทำในฤดูสารท (เดือนสิบ) เป็นช่วงที่ผลิตผลทางการเกษตรของกำแพงเพชรอุดมสมบูรณ์ รวมทั้งเป็นการทำบุญเพื่อเป็นสิริมงคลแก่ข้าวในนา ซึ่งเป็นการเก็บ พืชผลครั้งแรก


yengo หรือ buzzcity