ขนมปาด ขนมไทยล้านนา

ขนมปาด ขนมไทยล้านนา



ขนมปาด หรือ เข้าหนมปาด เป็นขนมพื้นบ้านของชาวล้านนา บางพื้นที่กล่าวกันว่าเป็นขนมของชาวไทลื้อที่อาศัยอยู่ตามท้องถิ่นต่างๆของภาคเหนือ เนื่องด้วยประเพณี งานบวช งานบุญ ของชาวไทลื้อสมัยโบราณ มักนิยมทำขนมปาด ซึ่งเป็นขนมลักษณะ คล้ายกับขนมชั้น แต่จะนิ่มกว่า ซึ่งเป็นขนมที่นิยม ของชาวไทลื้อ แต่ขนมปาดเก็บรักษาได้ ไม่นาน แค่ 2 วัน ก็เน่าเสีย

ขนมปาดนั้นมีมานานมากกว่า 60 ปี เป็นขนมที่ทำขึ้นเพื่อนำไปทำบุญที่วัดเทศกาลสงกรานต์หรือปีใหม่เมืองและเลี้ยงแขกที่มาเที่ยวบ้านตอนสงกรานต์ ส่วนอีกงานคือ งานปอยหรืองานบวช (บวชลูกแก้ว อุปสมบทพระ)โดย 1 ปีมีเพียง 1 ครั้งเท่านั้น ก็จะมีการทำขนมปาดเป็นงานร่วมสามัคคีของชนในกลุ่มเรียกว่า วันกินขนมปาด จะทำก่อนงาน 1 วัน กระทะแรกสำหรับผู้ทำร่วมกันกิน กระทะที่สองไว้ทำบุญเลี้ยงแขก กระทะที่สามห่อนแจกแขกในงาน เครื่องปรุงหรือส่วนผสมของขนมปาดนั้น ประกอบด้วยข้าวเจ้า น้ำอ้อย มะพร้าวทึนทึก ส่ววิธีทำนั้นมีขั้นตอนไม่มากนัก แต่ต้องอาศัยเวลาในการทำเป็นอย่างมาก เริ่มจากนำข้าวสารมาเคี่ยวกับน้ำอ้อย ในกระทะใบบัว(ใหญ่) ให้ผู้ชาย 2 คน ใช้พายคน กัน ทิ้งไว้เย็นแล้วตัดเป็นคำ ๆ ใส่กระทงใบตองโรยด้วยมะพร้าวทึนทึกขูดหยาบ ๆ (รับประทานกับข้าวแคบ)

ลักษณะของขนมปาดนั้น จะคล้ายขนมศิลาอ่อน จะมีสีออกจะน้ำตาลเข้ม มีรสชาติหวานมัน เวลาเคี้ยวจะกรุบกรอบในปากเล็กน้อยจากมะพร้าวเเละงาที่ใช้ในการทำขนม ในวันงานบวช เจ้าภาพจะห่อขนมปาดแจกแขกถือติดมือไปฝากที่บ้านทุกคน

พิธีกวนขนมปาดหรือการคนขนมปาดนั้นเป็นประเพณีในท้องถิ่นที่สำคัญของชาวล้านนา เป็นกุศโลบายเพื่อการรวมลูกหลานหรือคนในท้องถิ่น เพราะการทำขนมปาดนั้น ต้องอาศัยกำลังคนและอาศัยระยะเวลาในการทำ ในสมัยก่อนนั้นการเตรียมของสำหรับการทำขนมปาด ใช้ระยะเวลาหลายวัน เพราะในสมัยก่อนจะใช้วิธีตำข้าว โดยใช้ “มอง” หรือครกกระเดืองไม้นาดใหญ่ในการตำ เพื่อจะนำข้าวที่ตำแบบละเอียดแล้วมาทำขนม แต่ในปัจจุบันจะใช้แป้งสำเร็จรูปแทน “ขนมปาด “ เป็นขนมที่มี นัยยะ คนสมัยก่อนเขาพูด กันว่า ถ้าใครไม่รวย ไม่มีบริวารมากจะไม่สามารถทำขนมชนิดนี้ได้เลย เพราะใช้ต้นทุนสูง ทั้งเงินทั้งคน เวลาทำจะบ่งบอกด้วยว่าคนทำเป็นคนยังไง อดทนไหม ใจเย็นหรือไม่ เพราะต้องใช้ความละเอียด ผู้เฒ่าสมัยก่อนจะดูว่าที่ลูกเขยลูกสะใภ้ก็จากงานกวนขนมปาด และขนมปาดเป็นยอดขนมด้วย เป็นขนมเอาไว้ไหว้สา เอาไว้ตาน (ถวายพระ) แล้ว ได้บุญ ซึ่งเป็นวิถีอันงดงามของสังคมคนเมืองหรือคนล้านนาสมัยเก่า

ในปัจจุบัน พิธีกนขนมปาดยังได้รับการสืบทอดต่อกันมา ในแต่ละยุคสมัยอาจมีการเปลี่ยนแปลงไปบ้าง เช่น วิธีการทำ อุปกรณ์ในการทำแต่ในท้องถิ่นต่าง ๆ ของทางภาคเหนือก็ยังคงมีการกนขนมปาดหรือคนขนมปาดในงานประเพณีสำคัญๆ ที่เห็นได้ชัดก็คือ งานสงกรานต์และงานบวช ถือได้ว่าพิธีกนขนมปาดหรือการคนขนมปาดในงานบุญนั้เป็น สร้างความสามัคคีและความรักใคร่ของคนในท้องถิ่นได้อย่างดียิ่ง เป็นพิธีหรือประเพณีที่ควรจะอนุรักษ์ สืบสานเอาไว้ให้คนรุ่นหลังได้เรียนรู้วิถีชีวิตที่ปู่ย่าตายายได้สั่งสมเอาไว้ นับ ได้ว่ามีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของสังคม เป็นวัฒนธรรมอันดีงามที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์


เครื่องปรุง/ส่วนผสม


๑. แป้วข้าวจ้าว ๑ กิโลกรัม
๒. น้ำปูนใส ครึ่งถ้วยตวง
๓. มะพร้าวขูดผสมเกลือเล็กน้อย
๔. น้ำอ้อยประมาณ ๑๐ ก้อน

ขั้นตอนและวิธีทำ


๑. ร่อนแป้งเพื่อเอาเศษผงออกแล้วนำไปผสมกับน้ำอ้อยหรือน้ำตาลปี๊บ
๒. ใส่น้ำและคนจนแป้งละลายเข้ากับน้ำตาล
๓. ใช้ผ้าขาวบางกรองเศษผงออกเทใสกระทะทองเหลือง
๔. กวนด้วยไฟกลางจนแป้งสุกร่อนและเทใส่ถาดทิ้งไว้ให้เย็นแล้วตัดขนดเป็นชิ้นสี่เหลี่ยม หรือสามเหลี่ยมตามใจชอบ จากนั้นโรยหน้าด้วยมะพร้าวขูดผสมเกลือเพื่อเพิ่มความสวยงาม และรสชาติ


yengo หรือ buzzcity