ทับทิมกรอบ

ทับทิมกรอบ



ขนมทับทิมกรอบ ทับทิมกรอบเป็นขนมหวานที่รับประทานได้ทุกฤดูกาล นิยมมากที่สุดในฤดูร้อน รับประทานแล้วหอมหวานเย็นอร่อยชื่นใจคลายร้อนได้ดี ประกอบด้วยเม็ดทับทิมกรอบสีแดงสดใสและเม็ดทับทิมกรอบสีชมพูสวย เมื่อเคี้ยวแล้วกรอบมันด้วยรสชาติของแห้ว มีน้ำเชื่อมที่ทำจากน้ำตาลทราย ลอยด้วยดอกมะลิ มีกะทิสดจากการคั้นมะพร้าว น้ำแข็งบดละเอียดหรือน้ำแข็งทุบให้เป็นเม็ดเล็กๆ หอมชื่นใจ

เครื่องปรุง + ส่วนผสม

* แห้ว 800 กรัม (ล้าง, ปอกเปลือกและหั่นเป็นสี่เหลี่ยมลูกเต๋า)
* กะทิ 2 1/2 ถ้วยตวง
* เกลือป่น 2 ช้อนชา
* น้ำตาลทราย 2 ถ้วยตวง
* น้ำเปล่า 1 ถ้วยตวง
* น้ำหวานแดง 1 1/2 ถ้วยตวง
* แป้งมัน 500 กรัม
* ขนุนฉีกเป็นฝอย, เมล็ดข้าวโพดสุก (สำหรับโรยหน้า จะมีหรือไม่มีก็ได้)

วิธีทำทีละขั้นตอน

1. นำแห้วที่หั่นเสร็จแล้วไปแช่ในน้ำแดงประมาณ 15 นาที จากนั้นจึงนำออกมาสะเด็ดน้ำ

2. นำแห้วที่แช่ในน้ำแดงไปคลุกในแป้งมันให้ติดผิว ค่อยๆคลุกให้ติดทั่วผิวแห้วทั้งหมด จากนั้น จึงนำไปต้มในน้ำเดือดจนสุกจึงนำออกมาแช่น้ำเย็น (วิธีสังเกตุ : แห้วสุกแล้วจะลอยขึ้นเหนือน้ำ)

3. เตรียมทำน้ำเชื่อม โดยผสมน้ำตาลกับน้ำและนำไปต้มจนเดือด คนจนส่วนผสมทั้งหมดละลายดี แล้วจึงปิดไฟ

4. นำกะทิและเกลือไปใส่ในหม้อขนาดเล็ก และนำไปตั้งบนไฟอ่อนจนส่วนผสมละลายเข้ากันดี จึงปิดไฟ

5. นำเมล็ดทับทิม ไปใส่ในถ้วยเสริฟ โรยหน้าด้วยเกล็ดน้ำแข็ง ราดด้วยน้ำเชื่อม,น้ำกะทิ, ขนุนฝอยและข้าวโพด (ถ้าต้องการ) เสริฟทันทีเป็นอาหารว่าง คลายร้อนในวันสบายๆ

yengo หรือ buzzcity

ทองเอก

ทองเอก



ขนมทองเอก คือ ขนมไทยที่มีส่วนผสมของแป้งสาลี น้ำตาล ไข่แดง และกะทิ กวนจนข้น แล้วนำใส่แม่พิมพ์ให้ได้รูปตามที่ต้องการ จากนั้นจึงแคะออกจากแม่พิมพ์ แล้วนำมาอบด้วยเทียนอบ

ประวัติ

ขนมทองเอกในสมัยโบราณนั้นได้มีการนำทองคำเปลวมาตัดเป็นแผ่นสี่เหลี่ยมเล็กๆ มาประดับไว้ด้านบนของขนมทองเอก โดยใช้วิธีการวางแผ่นทองคำเปลววางไว้บนแม่พิมพ์ก่อนเทขนมทองเอกลงในแม่พิมพ์ แต่ปัจจุบันไม่มีการนำทองคำเปลวมาตกแต่งขนมทองเอก เนื่องจากทองคำเปลวเป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้รับประทาน

ขนมทองเอกเป็นขนมในตระกูลทอง ซึ่งขนมในตระกูลทองอันได้แก่ ทองเอก ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง ขนมในตระกูลนี้จะต้องใช้ความพิถีพิถันในการทำ เพราะเป็นขนมที่มีลักษณะสง่างาม และโดดเด่นกว่าขนมชนิดอื่น ขนมทองเอกนั้นเป็นขนม 1 ใน 9 ชนิดที่ถูกเรียกว่าขนมมงคล อันได้แก่ ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง ขนมชั้น เม็ดขนุน ถ้วยฟู จ่ามงกุฏ ทองเอก และ เสน่ห์จันทร์ ขนมมงคลนั้นจะใช้ในการนำไปประกอบเครื่องคาวหวานเพื่อถวายพระในงานมงคลต่างๆ เช่น งานบวช งานมงคลสมรส หรืองานขึ้นบ้านใหม่ โดยเชื่อว่างานมงคลเหล่านี้จะต้องใช้เฉพาะขนมไทยที่มีชื่อไพเราะ และเป็นสิริมงคล ซึ่งคำว่า เอก ในชื่อขนมทองเอกนั้น หมายความว่า การเป็นที่หนึ่ง

ส่วนผสม

แป้งสาลีเอนกประสงค์ 1 ถ้วย
แป้งท้าวยายม่อม 2 ช้อนชา
ไข่ไก่ (ใช้เฉพาะไข่แดง) 8 ฟอง
กะทิ (มะพร้าวขูดขาว 200 กรัม) 1 ถ้วย
น้ำตาลทราย 1 ถ้วย
พิมพ์ไม้สำหรับทำขนมทองเอก, ทองคำเปลว

วิธีทำ

1. ใส่กะทิกับน้ำตาลลงในกะทะทอง ตั้งไฟกลาง เคี่ยวนานประมาณ 10-15 นาที จนมีลักษณะข้นขาว ยกลง ทิ้งไว้ให้เย็น

2. ร่อนแป้งสาลีและแป้งท้าวยายม่อมเข้าด้วยกัน 2 ครั้งนำกะทิกับน้ำตาลาที่เคี่ยวไว้ (ส่วนผสมข้อ 1) ใส่ไข่แดง และแป้งที่ร่อนไว้ คนให้เป็นเนื้อเดียวกัน

3. นำขึ้นกวนไฟอ่อน ๆ จนแป้งรวมตัวเป็นก้อน กวนจนแป้งเนียนใส ยกลง คลุมด้วยผ้าขาวบางทิ้งไว้ให้เย็น

4. นำแป้งมาปั้นเป็นก้อนกลมเท่า ๆ กัน อัดลงในพิมพ์รูปต่าง ๆ ตามต้องการ เคาะออก นำมาติดทองคำเปลว

yengo หรือ buzzcity

ทองหยิบ

ทองหยิบ



ทองหยิบ เป็นขนมโปรตุเกสที่เผยแพร่ในประเทศไทยในสมัยกรุงศรีอยุธยาโดยท้าวทองกีบม้า จนเป็นที่แพร่หลายมาจนถึงปัจจุบัน ทำจากไข่แดงตีจนฟู ก่อนนำไปหยอดลงในน้ำเชื่อมเดือดเพื่อทำให้สุก เมื่อสุกแล้วจึงนำมาจับจีบ ใส่ถ้วยตะไล

ปัจจุบัน มักถูกนำมาเป็นของหวานในงานมงคลต่างๆ เช่น งานมงคลสมรส งานขึ้นบ้านใหม่ ฯลฯ

อุปกรณ์

- กระทะทองเหลือง 
- ชามผสม 
- กระชอน 
- เทียนหอม

วัตถุดิบ

1. ไข่แดงของไข่ไก่ 3 ฟอง
2. ไข่แดงของไข่เป็ด 3 ฟอง
3. แป้งข้าวจ้าว 1/2 ช้อนโต๊ะ
4. แป้งมัน 1 ช้อนชา
5. แป้งท้าวยายม่อม 1 ช้อนชา
6. น้ำเปล่า 400 มล.
7. กลิ่นมะลิ 1/2 ช้อนชา
8. น้ำตาลทราย 600 ก.
9. ใบเตย 1 ใบ
10. เทียนอบ 1 ชิ้น
11. น้ำเชื่อม 1 ถ้วยใหญ่ (700 มล.)

* ส่วนผสมสำหรับ 3 - 4 ที่

วิธีการทำ

1. นำน้ำเปล่า น้ำตาลทราย ใบเตย กลิ่นมะลิ ลงต้มรวมกันในกระทะทองเหลือง ใช้ไฟแรงและห้ามคนโดยเด็ดขาด เพราะถ้ามีคนโดนจะทำให้น้ำตาลตกผลึก
2. นำแป้งทั้ง 3 ชนิดผสมรวมกัน นำไปร่อนให้ละเอียดด้วยกระชอนตาถี่ พักไว้
3. นำไข่แดงทั้งหมดตีให้ขึ้นฟูประมาณ 5 นาที จากนั้นเติมแป้งลงในไข่ไก่และผสมให้เข้ากัน
4. ตักใบเตยออก ปิดแก๊สให้น้ำเชื่อมนึ่ง ใช้ช้อนตักส่วนผสมหยอดลงในกระทะ ระวังอย่าให้ติดกัน จากนั้นเปิดไฟกลางให้ขนมสุกทั้งสองด้าน
5. ตักขึ้นพักไว้ให้เย็นในถ้วยน้ำเชื่อม ช้อนขนมขึ้นมาแล้วจับจีบให้สวยงามและวางใส่ถ้วย จากนั้นจุดเทียนให้มีควันแล้วจึงดับไฟอบพร้อมกับทองหยิบ ปิดฝาอบรวมกันนาน 10 นาที เป็นอันเสร็จเรียบร้อย พร้อมเสิร์ฟ


yengo หรือ buzzcity

ทองหยอด

ทองหยอด



ทองหยอด เป็นขนมโปรตุเกส มีถิ่นกำเนิดจากเมืองอเวโร เมืองชายฝั่งทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศโปรตุเกส ทำจากแป้งผสมกับไข่แดงและน้ำ หยอดลงในน้ำเดือดเคี่ยวกับน้ำตาล เมื่อแป้งสุกจะเป็นเม็ดคล้ายหยดน้ำ มีสีเหลืองทอง

ทองหยอดเข้ามาเผยแพร่ในประเทศไทยในสมัยกรุงศรีอยุธยา โดยท้าวทองกีบม้า ในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช

ส่วนผสม (ได้ 70 ลูก)

ไข่แดง 15 ฟอง
แป้งทองหยอด 10 ช้อนโต๊ะ
น้ำเชื่อมข้น
น้ำตาลทราย 10 ถ้วย
น้ำลอยดอกไม้ 6 ถ้วย
น้ำเชื่อมใส
น้ำตาลทราย 1 ถ้วย
น้ำลอยดอกไม้ 2 ถ้วย

วิธีทำ

1.แยกไข่แดงไข่ขาวทำเช่นเดียวกับทองหยิบ
2.ตีไข่ให้ขึ้นฟูมากๆ จะใช้เครื่องตีหรือใช้ที่ตีไข่ด้วยมือก็ได้
3.แบ่งไข่ที่ตีแล้วใส่ในถ้วยหรือชามครั้งละ 1 ถ้วย ใช้แป้ง 4 ช้อนโต๊ะ คนให้เข้ากัน
4.หยอดในน้ำเชื่อมที่เตรียมไว้

การหยอด

แล้วแต่ความถนัด แต่ที่ง่ายที่สุดสำหรับคนหยอดไม่เป็นคือ เอียงถ้วยใช้นิ้วชี้ยกขึ้นตั้งฉาก ใช้มือซ้ายถือถ้วย เมื่อเอียงถ้วยไข่จะค่อยๆ ไหลลงมาใช้นิ้วชี้ปาดไข่จากด้านนอกเข้าหาตัว ใช้นิ้วหัวแม่มือ
รูดไข่ลง ขณะเดียวกันนิ้วชี้รูดจากล่างขึ้นบนสวนกับหัวแม่มือแล้วใช้นิ้วชี้ที่รูดขึ้นมาเด็ดไข่ลงให้เป็นหยดน้ำ โดยทำอย่างเร็วหยอดไป หลายๆ ลูกทิ้งไว้ให้เดือดพล่านใช้น้ำเชื่อมใสใส่ลงไป 1/4 ถ้วย
จะเห็นว่าน้ำเชื่อมที่เดือดเป็นฟองยุบเห็นทองหยอด ทิ้งให้เดือดเป็นฟองอยู่ประมาณ 2 นาที
ใส่น้ำเชื่อมใสอีก และทิ้งให้เดือดอีก ทำเช่นนี้ 3 ครั้ง จะเห็นว่าทองหยอดเมื่อสุกจะใส ตักขึ้น
ใส่ในน้ำเชื่อมใส

ลักษณะที่ดี

1.ทองหยอดได้รูปสวย คือกลม ถ้าเป็นหยดน้ำจะมีติ่งยื่นมา
2.สีสวย
3.ไม่เป็นไต
4.หวานฉ่ำ
5.เป็นมันไม่มีกลิ่นคาว

เคล็ดที่ไม่ลับ

1.ก่อนที่จะหยอดให้สังเกตน้ำเชื่อม จะเป็นฟองละเอียดแสดงว่าน้ำเชื่อมได้ที่เมื่อหยอดแล้วไข่จะแบน ในขณะที่จะหยอดน้ำเชื่อมต้องเป็นฟองเดือดพล่าน
2.ในการผสมแป้งจะใส่มากน้อยขึ้นอยู่กับการตีไข่ขึ้นน้อยต้องใส่แป้งน้อย ถ้าใส่มากไปจะทำให้
แป้งข้นมากหยอดไม่ได้ ถ้าตีไข่ขึ้นฟูมากจะต้องเพิ่มแป้ง การใส่แป้งมากน้อยแค่ไหน ให้สังเกต
ลักษณะไข่ใส่แล้วคน แป้งมีความข้นนิดๆ ไม่ไหลเป็นทางเร็วไปก็ใช้ได้ การที่ส่วนนี้ให้ใส่แป้งข้น
เหมาะสำหรับคนที่ทำไม่เป็น เริ่มหัดหยอดจะหยอดได้ง่ายขึ้น เมื่อเป็นชำนาญแล้วอาจจะลดส่วน
แป้งลงจะทำให้สุกเร็วขึ้น
3.ต้องให้สุกโดยตั้งในน้ำเชื่อมนานหน่อย ถ้าขึ้นเร็วเกินไปจะทำให้ทองหยอดเป็นไต
4.ผู้ที่ไม่เคยทำ ลองหยอดในถ้วยเสียก่อนค่อยลงในน้ำเชื่อม คือปาดแป้งจากปากถ้วยหยอดลงในถ้วยเดิม สังเกตดูว่าเป็นรูปร่างดีหรือยัง ถ้าเป็นรูปร่างดีค่อยหยอดใส่ลงในน้ำเชื่อม
5.ถ้าจะใช้แป้งข้าวเจ้า จะให้ดีควรอบแป้งด้วยเทียนอบ ให้หอมก่อน หรือจะใช้แป้งทองหยอดก็ได้ แป้งทองหยอดคือแป้งข้าวเจ้าที่ผ่านการอบแล้ว

yengo หรือ buzzcity

ทองม้วน

ทองม้วน

เป็นขนมไทยชนิดหนึ่งมีลักษณะเป็นแผ่นม้วนกลมเป็นวง มีลักษณะกรอบ โดยมีส่วนผสมหลักคือ แป้ง มะพร้าว น้ำตาลปีบ ไข่ไก่ น้ำมันพืช และ งาดำ มีรสชาติอร่อยหวาน หอมมีความเป็นเอกลักษณ์ มีขั้นตอนในการทำที่ไม่ยุ่งยาก


เครื่องปรุง + ส่วนผสม


* แป้งสาลี 850 กรัม
* น้ำตาลทราย 600 กรัม
* ไข่เป็ด 5 ฟอง
* มะพร้าวขูด 1 กิโลกรัม
* แป้งหอมผสมอาหาร 1/2 ช้อนชา
* งาขาว

วิธีทำขนมไทย ทีละขั้นตอน


1. นำมะพร้าวไปคั้นให้ได้น้ำกะทิ จากนั้นจึงนำไปตั้งบนไฟร้อนปานกลาง เคี่ยวจนกะทิแตกมัน

2. ผสมแป้งสาลีกับน้ำตาลทราย แล้วจึงนำน้ำกะทิที่ได้จากขั้นตอนที่หนึ่งมาผสม คนจนแป้งละลายดี

3. ตอกไข่ใส่ลงไป ตีจนขึ้นฟอง จึงใส่แป้งหอมผสมอาหารและงาขาว คนจนผสมกันทั่ว พักทิ้งไว้

4. ทาน้ำมันบนกระทะแบน รอจนร้อนจึงหยอดแป้งที่เตรียมไว้ลงไป รอให้สุกจึงกลับหน้าให้เหลืองทั้งสองด้าน ขณะที่ขนมยังร้อน พับม้วนตามต้องการ จึงนำออกจากเตา

5. เสริฟรับประทานได้ทันที หรือเก็บในภาชนะมิดชิดเพื่อไว้รับประทานภายหลัง


yengo หรือ buzzcity

ดาราทอง หรือ ทองเอกกระจัง

ดาราทอง หรือ ทองเอกกระจัง



ดาราทอง หรือ ทองเอกกระจัง เป็นขนมที่ชนะการประกวดในงานฉลองปีใหม่ สมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นขนมที่คนส่วนใหญ่สับสน และคิดว่าเป็นขนมจ่ามงกุฎ หน้าตาเหมือนเครื่องหมายดาราในเครื่องราชอิศริยาภรณ์ คล้ายๆมงกุฏฝรั่ง เลยเรียกผิดๆ กัน...ขนมดาราทองที่ดี ลูกกวาดเมล็ดแตงโมต้องมี "หนาม" แป้นรองต้องกรอบ นุ่ม ไม่แข็งกระด้าง ตัวทองเอก ต้องเนื้อเนียน ไม่แห้งกระด้าง

yengo หรือ buzzcity

ขนมพื้นบ้านภาคอีสานข้าวโป่ง

ขนมพื้นบ้านภาคอีสานข้าวโป่ง




ข้าวโป่ง เป็นขนมพื้นบ้านภาคอีสาน นิยมในฤดูหนาวหลังจากเกี่ยวข้าวแล้ว การทำเริ่มจากนำข้าวเหนียวที่นึ่งสุกแล้วไปตำด้วยครกมอง เมื่อละเอียดแล้วจะเอาใบตดหมูตดหมาหรือย่านพาโหมขยี้กับน้ำแล้วสลัดใส่ครก เพื่อให้ข้าวเหนียวจับตัวกันดี นำน้ำอ้อยโขลกแล้วตำผสมลงในครกจนเหนียวได้ที่ นำน้ำมันหมูทามือแล้วปั้นข้าวเหนียวเป็นก้อนผสมกับไข่แดง กดก้อนข้าวเหนียวที่ปั้นให้เป็นแผ่นบางๆ แล้ววางบนใบตองที่ทาน้ำมันหมูแล้ว ตากแดดให้แห้ง เมื่อจะรับประทานจึงเอามาปิ้งให้สุก

ทางภาคเหนือมีขนมชนิดนี้เช่นกันแต่เรียกข้าวปองหรือข้าวควบ

อุปกรณ์การทำข้าวโป่งอีสาน

1.กะละมัง
2.ใบตอง
3.กระเบื่องหรือไม้แผ่นบางๆ
4.หม้อนึ่งข้าว
5.กระมวยนึ่งข้าว

ส่วนประกอบ

1.น้ำตาล
2.ข้าวเหนียวหรือข้าวเหนียวดำแช่น้ำประมาณ4-5ชั่วโมง
3.ไข่ไก่
4.ไข่ต้มเอาเฉพาะไข่แดง
5. น้ำมันพืช


วิธีทำ


1.นำข้าวเหนียวที่แช่น้ำมานึ่งให้สุก แล้วนำมาเทลงในกระด้งแล้วคนไปมาให้ไอน้ำออก

2.นำข้าวเหนียวที่ที่นึ่งสุกใหม่ไปโขลกให้ละเอียดด้วยครกมอง

3.พอข้าวเหนียวละเอียดพอประมาณใส่ไข่โขลกให้เข้ากันกับข้าวเหนียว

4.เติมน้ำตาลโขลกให้เข้ากับข้าวเหนียว

5.นำข้าวเหนียวที่ผสมกับน้ำตาลกับไข่เสร็จแล้วนำไปปั้นเป็นก้อนกลมๆพอประมาณ นำไข่แดงที่ต้มสุกแล้มผสมให้เข้ากันแล้วทามือและทาแผ่นพลาสติกเพื่อไม่ให้แป้งติดกับแผ่นพลาสติก แล้วใช้ถุงพลาสติกที่ตัดไว้วางบนแผ่นกระเบื้องที่ทำความสะอาดเสร็จแล้ว นำข้าวเหนียวที่ปั้นไว้วางบนแผ่นพลาสติก

6.นำแผ่นถุงพลาสติกวางทับแล้วนำกระเบื้องวางทับอีกที แล้วกดให้แป้งกระจายออกเป็นแผ่นวงกลม

7.นำแป้งที่กดเป็นวงกลมวางบนเสื่อที่ทำความสะอาดแล้ว

8.ทำแบบนี้เรื่อยๆจนแป้งหมด

9.แล้วนำข้าวโป่งที่ทำเสร็จมาผึ่งแดดไว้ประมาณ3-4วันแล้วเก็บใส่กล่องปิดฝาให้สนิด

10.นำไปย่างไฟให้พองขึ้นพอเหลืองก็สามารถรับประทานได้


yengo หรือ buzzcity

ข้าวเหนียวมะม่วง

ข้าวเหนียวมะม่วง




ข้าวเหนียวมะม่วง เป็นขนมหวานไทยยอดนิยม และจะได้รับความนิยมมากเป็นพิเศษในฤดูร้อน ทำจากข้าวเหนียว เช่น ข้าวเหนียวเขี้ยวงู มูนกับหัวกะทิ เกลือป่น และน้ำตาลทรายขาว แล้วกินกับเนื้อมะม่วงสุก ที่นิยมคือ มะม่วงอกร่อง และมะม่วงน้ำดอกไม้ อาจราดกะทิ และโรยถั่วบางชนิด แล้วแต่ชอบใจ

ข้าวเหนียวมะม่วงมีแคลอรีสูง ถ้ากินขณะเป็นโรคกระเพาะอาหาร, ม้ามพร่อง หรือระบบย่อยอาหารบกพร่อง จะท้องอืด, จุกเสียดแน่น และอาหารย่อยยากมากขึ้นได้ นอกจากนี้ หากรับประทานเกินพอดี จะร้อนใน, เจ็บคอ, ท้องผูก, ปวดหัว เป็นต้น เอาได้ อย่างไรก็ดี ข้าวเหนียวในขนมหวานชนิดนี้มีสรรพคุณเป็นของร้อนรสหวาน จะช่วยบำรุงพลัง ตลอดจนบำบัดอาการเหงื่อออกมาก และท้องเสีย โดยเฉพาะมะม่วงที่มีรสหวานปนเปรี้ยวนั้น ช่วยบำรุงร่างกาย, แก้ไอ และขับลมได้


เครื่องปรุง + ส่วนผสม

* มะม่วงสุก 3 ลูก
* ข้าวเหนียว 1 กิโลกรัม
* หัวกะทิ 450 กรัม
* เกลือป่น 3/4 ช้อนชา
* น้ำตาลทราย 550 กรัม
* ใบเตย 3-5 ใบ
* ถั่วทอง 5 ช้อนโต๊ะ
* หัวกะทิ 2 ถ้วยตวง (สำหรับทำน้ำราด)
* เกลือป่น 1/4 ช้อนชา (สำหรับทำน้ำราด)


วิธีทำขนมไทย ทีละขั้นตอน

1. นำข้าวเหนียวไปล้างและแช่น้ำทิ้งไว้ 1 คืน จากนั้นนำไปสะเด็ดน้ำ

2. นำผ้าขาวบางรองไว้ในซึ้งหรือหม้อนึ่ง แล้วจึงนำข้างเหนียววางลงบนผ้าขาวบาง จากนั้นนำไปนึ่งจนข้าวเหนียวสุก

3. ในหม้อขนาดเล็ก ใส่น้ำตาล, เกลือป่น (3/4 ช้อนชา) และหัวกะทิ และนำไปตั้งบนไฟอ่อนๆ คนจนส่วนผสมทั้งหมดเข้ากันดี จากนั้นจึงใส่ใบเตยลงไป ทิ้งไว้สักพักจึงปิดไฟ

4. ในชามขนาดกลาง ใส่ข้าวเหนียวที่นึ่งไว้จนสุกดีแล้วลงไป จากนั้นจึงใส่น้ำกะทิที่เคี่ยวไว้ในขั้นตอนที่สามตามลงไป คนจนส่วนผสมเข้ากันทั่ว และทิ้งไว้อย่างน้อย 15 นาที

5. ในระหว่างที่รอ เตรียมทำน้ำกะทิราดหน้าโดย ผสมหัวกะทิ (2 ถ้วยตวง) และเกลือป่น (1/4 ช้อนชา) ลงในหม้อขนาดเล็ก และนำไปตั้งบนไฟอ่อนๆ คนจนเกลือละลายทั่ว จึงปิดไฟ

6. ปอกมะม่วงและจัดใส่จาน เวลาเสริฟ ตักข้าวเหนียวใส่จานจากนั้นโรยหน้าด้วยน้ำราดกะทิและถั่วทอง ควรเสริฟทันทีหลังจากปอกมะม่วงเสร็จใหม่ ๆ


yengo หรือ buzzcity

ข้าวเม่า

ข้าวเม่า



ข้าวเม่า ได้มาจากรวงข้าวสีเขียวไล่มาจนถึงสีเขียวตกน้ำตาล การบริโภคข้าวเม่าพบในทุกประเทศที่ปลูกข้าว ตั้งแต่ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม พม่า ภูฏาน อินเดีย ทิเบต ในภูฏานใช้เป็นอาหารว่างกินกับน้ำชา ในไทยเป็นขนมที่นิยมกินมาตั้งแต่สมัยโบราณ ในอดีตตอนหน้าน้ำจะมีแม่ค้านำขนมใส่เรือมาขาย และขนมกลุ่มนั้นมีข้าวเม่าทอดอยู่ด้วย มีกล่าวถึงข้าวเม่าในนิราศน้ำท่วมใหญ่ พ.ศ. 2460 ว่า

พวกแม่ค้ามาขายข้าวเม่าทอด แตงเมหลอดน้ำยาแกงปลาไหล

มีเพลงกล่อมเด็กกล่าวถึงข้าวเม่าว่า

โอ้ละเห่เอย หัวล้านนอนเปล ลักข้าวเม่าเขากิน
เขาจับตัวได้ เอาหัวไถลไถดิน หัวล้านมักกิน ตกสะพานลอยไป


ข้าวเม่ามีทั้งข้าวเม่าข้าวเหนียว ข้าวเจ้าและข้าวเหนียวดำ โดยที่นิยมมากที่สุดคือข้าวเม่าข้าวเหนียว แบ่งได้เป็น 3 แบบ คือ ข้าวฮ่างหรือข้าวเม่าอ่อนทำจากเมล็ดข้าวสีเขียวจัด ข้าวเม่าแบบเขียวอ่อน ทำจากข้าวห่ามที่เปลือกเป็นสีเขียวเข้ม ข้าวเม่าขาวนวล ทำจากข้าวเกือบแก่ เปลือกเขียวอมน้ำตาล

ข้าวเม่าทำเป็นขนมได้หลายแบบ เช่น

- ใส่เป็นส่วนผสมในกระยาสารท
- ข้าวเม่าบด ใช้ข้าวเม่าใหม่คั่วให้หอมแล้วกรองด้วยผ้าขาวบาง หยดหัวกะทิลงบนข้าวเม่าที่กรองไว้ กะทิจะผสมข้าวเม่าเป็นก้อน แล้วนำมากลิ้งไปมาบนฝ่ามือให้เป็นก้อนเหมือนไข่จะละเม็ด
- ข้าวเม่าราง คือข้าวเม่าที่นำมาคั่วจนพองแล้วกินกับน้ำกะทิ
- ข้าวเม่าหมี่ เป็นข้าวเม่ารางแบบแห้ง คือใส่กุ้งแห้ง เต้าหู้ทอด ถั่วลิสง หรือใส่น้ำตาลทรายถ้าเป็นแบบหวาน
- ข้าวเม่าทอด เป็นข้าวเม่ากวนกับน้ำตาลผสมกับแป้งพอกกล้วยไข่ทั้งลูกแล้วทอด บางท้องถิ่นเรียกกล้วยข้าวเม่า

เครื่องปรุง + ส่วนผสม

* ข้าวเม่าข้าวเหนียว 100 กรัม
* น้ำตาลทราย 50 กรัม
* มะพร้าวทึนทึกขูดนึ่งสุก 1 ถ้วยตวง
* เกลือ (สำหรับคลุกมะพร้าว) 1/4 ช้อนโต๊ะ
* เกลือ (สำหรับต้มน้ำ) 1 ช้อนโต๊ะ
* น้ำสะอาด 2 ถ้วยตวง

วิธีทำขนมไทย ทีละขั้นตอน

1. นำมะพร้าวทึนทึกขูดนึ่งสุกไปคลุกกับเกลือ (1/4 ช้อนโต๊ะ) พักไว้

2. ตั้งน้ำให้เดือด ใส่เกลือ (1 ช้อนโต๊ะ) คนจนเกลือละลายดี ปิดไฟ ทิ้งไว้ให้เย็น

3. นำน้ำเกลือไปพรมใส่ข้าวเม่าทีละนิดและคลุก ค่อยๆเติมน้ำและคลุกต่อ ทำจนข้าวเม่านิ่ม จากนั้นจึงใส่มะพร้าวขูดลงไปคลุกให้เข้ากัน (ปริมาณน้ำที่ใส่ลงไปขึ้นอยู่กับข้าวเม่าว่าเก่าหรือใหม่ ข้าวเม่าเก่าอาจต้องใส่น้ำลงไปเยอะหน่อย เนื่องจากความชื้นน้อย) หากใช้น้ำมะพร้าว แทนน้ำเปล่า ก็ควรใส่เกลือนิดหน่อย เพื่อไม่ให้ข้าวเม่าจืดจนเกินไป

4. ตักข้าวเม่าคลุกใส่จาน โรยหน้าด้วยมะพร้าวทึนทึกขูด และน้ำตาล (หรือจัดน้ำตาลใส่ถ้วยเสริฟต่างหาก) เสริฟเป็นของว่างในวันสบายๆ

ที่มา


yengo หรือ buzzcity

ข้าวต้มมัด หรือ ข้าวต้มผัด

ข้าวต้มมัด หรือ ข้าวต้มผัด



ข้าวต้มมัด หรือ ข้าวต้มผัด เป็นขนมชนิดหนึ่งที่ทำด้วยข้าวเหนียวผัดกับกะทิ แล้วนำไปห่อด้วยใบตองหรือใบมะพร้าวอ่อน ใส่ไส้กล้วย นำไปนึ่งให้สุก ทางภาคใต้ใช้ข้าวเหนียวกับน้ำกะทิ ห่อด้วยใบพ้อ เรียกห่อต้ม ถ้าห่อด้วยใบมะพร้าว และมัดด้วยเชือกเรียกห่อมัด ขนมแบบเดียวกับข้าวต้มยังพบในประเทศอื่นอีก เช่นในฟิลิปปินส์เรียก อีบอส หรือ ซูมัน ที่แบ่งย่อยได้หลายชนิดเช่นเดียวกับข้าวต้มมัดของไทย

ข้าวต้มมัดอีกชนิดหนึ่งเรียก ข้าวต้มลูกโยน เป็นขนมที่ใช้ในเทศกาลออกพรรษา ห่อด้วยใบพ้อหรือยอดมะพร้าวเป็นรูปรี ข้างในเป็นข้าวเหนียวผสมถั่วดำไม่มีไส้ ผูกเข้าด้วยกันเป็นพวงแล้วนำไปต้ม ส่วน ข้าวต้มมัดไต้ เป็นข้าวต้มที่ห่อแล้วมัดให้มีลักษณะเหมือนไต้ที่ใช้จุดไฟ ไส้เป็นถั่วทองโขลกกับรากผักชีกระเทียม พริกไทย ใส่หมู มันหมู ปรุงรสด้วยเกลือ น้ำ น้ำตาลทราย ห่อด้วยใบตองเป็นแท่ง มัดเป็นเปลาะ 4-5 เปลาะ แล้วนำไปต้ม บางท้องที่ใช้เป็นขนมไหว้เจ้าในเทศกาลตรุษจีนและสารทจีนด้วย

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเรียกข้าวต้มมัดว่า ข้าวต้มกล้วย ใช้ข้าวเหนียวดิบมาห่อ ปรุงรสด้วยเกลือนิดหน่อย ใส่ถั่วลิสงต้มสุกเคล้าให้เข้ากันแล้วจึงห่อเป็นมัด ใส่ไส้กล้วย เอาไปต้มให้สุก ถ้าเป็นแบบผัด จะผัดข้าวเหนียวกับกะทิก่อนแล้วจึงห่อใส่ไส้กล้วย แล้วต้มให้สุก ถ้าต้องการหวานจะเอามาจิ้มน้ำตาล ส่วนทางภาคเหนือนิยมนำข้าวต้มมัดที่สุกแล้วมาหั่นเป็นชิ้นๆ คลุกกับมะพร้าวขูด โรยน้ำตาลทราย เรียก ข้าวต้มหัวหงอก ในประเทศลาวมีข้าวต้มมัดเช่นเดียวกันเรียกว่า "เข้าต้ม" ไส้เค็มใส่มันหมูกับถั่วเขียว ไส้หวานใส่กล้วย

ข้าวต้มมัดทางภาคใต้ไม่มีไส้ เป็นข้าวเหนียวผัดกับกะทิ ใส่ถั่วขาว ไม่นิยมใช้ถั่วดำ ออกรสเค็มเป็นหลัก ถ้าต้องการให้มีรสหวานจะเอาไปจิ้มน้ำตาล และมีขนมชนิดหนึ่งเรียก ข้าวต้มญวน มีลักษณะคล้ายข้าวต้มมัดแต่ห่อใหญ่กว่า ทำให้สุกด้วยการต้ม เมื่อจะรับประทานจะหั่นเป็นชิ้นๆ คลุกกับมะพร้าวขูด เกลือและน้ำตาลทราย

เครื่องปรุง + ส่วนผสม

* ข้าวเหนียวเขี้ยวงูใหม่ 800 กรัม
* กล้วยน้ำว้าสุก 8-10 ผล
* ถั่วดำ 100 กรัม (แช่น้ำทิ้งไว้ค้างคืน)
* มะพร้าวขูด 300 กรัม
* น้ำตาลทราย 100 กรัม
* เกลือป่น 1 ช้อนชา
* น้ำดอกไม้สด 3 ถ้วย
* ใบตองสำหรับห่อ

วิธีทำขนมไทย ทีละขั้นตอน

1. ล้างข้าวเหนียวให้สะอาด ใส่ตะแกรงพักไว้

2. นำถั่วดำที่แช่น้ำไว้ ไปนึ่งพอสุก พักไว้

3. นำมะพร้าวขูดไปผสมกับน้ำดอกไม้ คั้นกะทิสดให้ได้ 3 ถ้วย

4. ตั้งกะทิในกระทะบนไฟร้อนปานกลาง รอจนเดือดจึงใส่เกลือ น้ำตาลทราย และข้าวเหนียวที่ล้างแล้วใส่ตะแกรงพักไว้ ลดไฟลง ผัดจนส่วนผสมเข้ากัน โดยผัดนานประมาณ 15 นาทีจนเริ่มแห้ง จากนันจึงปิดไฟ พักไว้ให้เย็น

5. ปอกกล้วยและฝานเป็นชิ้น 3 ส่วน เตรียมใบตองให้ได้ หน้ากว้างประมาณ 3 นิ้ว ทำความสะอาดทั้งสองด้าน จากนั้น จึงใส่ข้าวเหนียวที่ผัดไว้ (ขั้นตอนที่ 4) ใส่กล้วยตรงกลาง และใส่ข้าวเหนียวปิดหน้า จากนั้นโรยด้วยถั่วดำนึ่งสุก ห่อให้แน่นและมัดด้วยตอก

6. นำข้าวต้มมัดเรียงใส่ลังนึ่ง นึ่งด้วยไฟแรงประมาณ 20 นาที จนสุก ปิดไฟยกลง

7. จัดใส่จาน เสริฟเป็นของว่างในวันสบายๆ



yengo หรือ buzzcity

ขนมไทย ข้าวตู

ขนมไทย ข้าวตู



ข้าวตู เป็นขนมไทยที่ทำจากข้าวสวยที่เหลือรับประทาน โดยนำข้าวเหล่านั้นไปตากแห้งแล้วโม่ให้ละเอียด นำมากวนกับน้ำตาล น้ำ และมะพร้าวขูดให้เข้ากัน พอเย็นใส่ข้าวคั่วบดคนให้เข้ากัน ปั้นเป็นก้อน จัดเรียงใส่หม้อ อบด้วยควันเทียนอบ กระดังงาหรือดอกมะลิ

ขนมที่ใกล้เคียงกับข้าวตูได้แก่ ขนมไข่มด เป็นขนมโบราณ ใช้ข้าวสวยร้อนๆผสมน้ำตาลปี๊บ มะพร้าวขูด เกลือป่น ขนมไข่จิ้งหรีด หรือขนมไข่มดกรอบ ใช้ข้าวที่เหลือตากแห้งเป็นเม็ดๆ มาคั่วให้กรอบ แล้วคลุกกับน้ำตาล นำ มะพร้าวขูด กวนให้เข้ากันในกระทะ

ทางภาคใต้มีขนมชนิดหนึ่งเรียกขนมหน้างอน คล้ายข้าวตูของภาคกลาง แต่แผ่เป็นแผ่นแทนการปั้นเป็นก้อน

เครื่องปรุง + ส่วนผสม

* ข้าวสุกตากแห้ง 250 กรัม
* น้ำตาลมะพร้าว 250 กรัม
* น้ำกะทิ 50 กรัม
* มะพร้าวขูดฝอย 300 กรัม
* เนื้อมะพร้าวอ่อน 120 กรัม
* น้ำมะพร้าวอ่อน 200 กรัม
* เทียนอบ

วิธีทำขนมไทย ทีละขั้นตอน


1. นำข้าวสุกไปตากให้แห้ง ถ้าตากแล้วไม่แห้งดี สามารถนำไปอบได้ เมื่อแห้งดีแล้ว นำไปคั่วทีละน้อย โดยใช้ไฟอ่อนๆ เสร็จแล้วนำไปโม่บดให้ละเอียด

2. ตั้งกระทะทองเหลือง (หรือใช้กระทะเทฟลอนแทนก็ได้) บนไฟอ่อนๆ ใส่กะทิ, น้ำตาลมะพร้าว, มะพร้าวขูดฝอย, น้ำมะพร้าวและเนื้อมะพร้าวลงไปเคี่ยวจนกระทั่งส่วนผสมข้นเหนียว

3. ใส่ผงข้าวคั่วลงไปในกระทะและกวนต่อจนเหนียวพอปั้นได้ ปิดไฟ ทิ้งไว้ให้หายร้อน

4. อัดส่วนผสมใส่แบบที่เตรียมไว้ จากนั้นนำไปอบควันเทียนให้หอม เสริฟรับประทานได้ทันที หรือเก็บ ใส่ภาชนะมิดชิดเก็บไว้รับประทานภายหลังได้

ที่มา http://www.ezythaicooking.com/free_dessert_recipes/Thai_dessert_kanom_kao_too_th.html


yengo หรือ buzzcity

ขนมพื้นบ้านของภาคอีสาน ข้าวจี่

ขนมพื้นบ้านของภาคอีสาน ข้าวจี่



ข้าวจี่ เป็นขนมพื้นบ้านของภาคอีสาน ทำจากข้าวเหนียวนึ่งทาเกลือ ปั้นเป็นรูปกลมหรือรีเสียบไม้นำไปย่างบนเตาถ่าน ไฟอ่อนพอเกรียมนำมาชุบไข่ แล้วนำไปย่างใหม่จนเหลือง ดึงไม้ที่เสียบไว้ออก ยัดน้ำตาลอ้อยเข้าไปแทน น้ำตาลจะละลายเป็นไส้ และนิยมทำกันมากในช่วงเดือนสามของทุกปี ซึ่งจะมีการทำข้าวจี่ไปทำบุญในงานประเพณีบุญข้าวจี่ อาจเป็นเพราะข้าวเหนียวจะเสียเร็วในตอนกลางวัน สมัยก่อนข้าวเหนียวจึงถูกทำเป็นข้าวจี่แล้วห่อใบตองไปกินเป็นอาหารตอนทำนาหรือเดินทางไกล เพราะสามารถเก็บได้นานขึ้น

ทางภาคเหนือ มีข้าวจี่เช่นเดียวกับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพียงแต่จะเพิ่มกะทิเข้ามาด้วย เดือนสี่ทางเหนือซึ่งตรงกับราว ๆ เดือนมกราคมของภาคกลาง (การนับเดือนของทางเหนือจะเร็วกว่าภาคกลาง 2 เดือน) จะนำข้าวจี่กับข้าวหลามไปทำบุญตักบาตร เรียกว่า บุญข้าวจี่ข้าวหลาม ข้าวจี่อีกชนิดหนึ่งของทางภาคเหนือ เป็นการอุ่นข้าวเหนียวเปล่า มักจะทำกินกันตอนน้ำท่วม โดยการนำข้าวเหนียวสุกที่เหลือจากมื้อก่อนหน้า (เรียกว่า ข้าวเย็น) มาเสียบไม้ ปั้นแผ่ให้บาง ปิ้งไฟพอเกรียมนิดหน่อยให้อุ่นหอม นิยมกินกับปลากระดี่ที่ควักไส้แล้วเสียบไม้ตากแห้ง (เรียกว่า ฮ้าแห้ง หรือ ปลาร้าแห้ง) ปิ้งไฟให้กรอบเกรียม นำมาโขลกป่นให้ละเอียด ผสมเกลือป่นเล็กน้อย หากเป็นเกลือเม็ดก็โขลกให้ป่นพร้อมปลาไปเลย เก็บใส่กระปุกไว้เป็นกับข้าวได้นาน การจี่ในภาษาเหนือจะไม่เหมือนกับภาษากลาง ซึ่งแบบภาคกลางจะหมายถึงการนาบอาหารกับกระทะ ในภาษาเหนือจะเรียก นาบ

ประเทศลาวก็มีอาหารที่เรียกว่าข้าวจี่เช่นกัน ที่หลวงพระบางข้าวจี่คือขนมปังแท่งยาว ๆ แบบฝรั่งเศส นำมาผ่าซีก เสร็จแล้วนำไปใส่เครื่องเคียงต่าง ๆ เช่น แตงกวา ไข่เจียวตัดเป็นเส้น ๆ หมูยอ หมูหย็อง (คนลาวเรียกหมูฝอย) และปรุงรสด้วยซอสมะเขือเทศ ข้าวจี่ของลาวจะต่างจากข้าวจี่ทางภาคเหนือและอีสานของไทย

ส่วนผสม

1. ข้าวนึ่ง 500 กรัม
2. กะทิ 1/2 ถ้วย
3. ไข่ไก่ 2 ฟอง
4. เกลือ 1/2 ช้อนชา

วิธีทำ

1. ผสมกะทิและเกลือ คนให้เกลือละลาย ใส่ลงในชามข้าวเหนียว นวดให้เข้ากัน
2. ปั้นข้าวเหนียว แล้วเสียบไม้ตรงกลาง
3. นำไปย่างไฟอ่อนๆ ให้เกรียมเล็กน้อย
4. ตีไข่ไก่ให้เข้ากัน นำข้าวจี่ชุปไข่
5. นำไปย่างไฟอ่อนๆ อีกครั้ง ให้เกรียมเล็กน้อย

yengo หรือ buzzcity

ไข่หงส์ เดิมชื่อขนมไข่เหี้ย

ไข่หงส์ เดิมชื่อขนมไข่เหี้ย


ไข่หงส์ เดิมชื่อขนมไข่เหี้ย เป็นของหวาน ที่ทำจากแป้งข้าวเหนียวผสมมันเทศ สอดไส้ด้วย ถั่วเขียวผัดเค็ม

ที่มา

ขนมนี้มีตำนานเล่าต่อๆ กันว่าเป็นขนมที่เจ้าจอมแว่น (หรือสมัญญาที่พระเจ้าลูกยาเธอและพระเจ้าลูกเธอ เรียกว่า คุณเสือ) พระสนมเอกในรัชกาลที่ 1 คิดทำขึ้นถวายพระองค์ เพราะครั้งหนึ่งทรงพระประสงค์จะเสวยไข่เหี้ย แต่ระยะนั้นไข่เหี้ยหายาก เจ้าจอมแว่นจึงประดิษฐ์ขนมไข่เหี้ยขึ้นถวายแทน ในสมัยก่อนขนมนี้ยังใช้ในพิธีขันหมากหรือติดกัณฑ์เทศน์ด้วย ปัจจุบันคนส่วนใหญ่เห็นว่าชื่อขนมไม่ไพเราะจึงเปลี่ยนเป็นขนมไข่หงส์ ทำให้ลักษณะของขนมเปลี่ยนไปด้วย จากที่เคยฟองใหญ่ คล้ายไข่เป็ด เนื้อแป้งหนา กลายเป็นฟองกลมๆเล็กๆ แป้งบางลง

ขนมที่คล้ายขนมไข่เหี้ยคือขนมฟองแลน รูปร่างคล้ายไข่ ใช้แป้งข้าวเหนียวผสมกับแป้งข้าวเจ้า นวดผสมกับฟักทอง แล้วนำไปหุ้มไส้ที่ทำจากถั่วเขียวนึ่งผัดกับหอม พริกไทยและเกลือ เสร็จแล้วนำไปทอด เคลือบด้วยน้ำตาลมะพร้าวเคี่ยวกับกะทิ อีกชนิดหนึ่งคือขนมไข่นกกระสา ไส้เหมือนขนมไข่เหี้ย แต่หุ้มด้วยสาคูแล้วนำไปนึ่ง

ส่วนผสมขนมไข่หงส์

ส่วนผสมไส้ขนมไข่หงส์

น้ำมัน 1/3 ถ้วยตวง
หัวหอมซอย 2 ช้อนโต๊ะ
พริกไทย 1 ช้อนชา
รากผักชี 1 ช้อนโต๊ะ
เกลือ 1 ช้อนโต๊ะ
น้ำตาลทราย 1/2 ถ้วยตวง
ถั่วเขียวนึ่งบด 3 ถ้วยตวง

ส่วนผสมแป้งขนมไข่หงส์

น้ำปูนใส 3/4 ถ้วยตวง
ฟักทองนึ่งบด 1/2 ถ้วยตวง
แป้งข้าวเหนียว 3 ถ้วยตวง
แป้งข้าวเจ้า 1 1/2 ถ้วยตวง
หัวกะทิ 1/2 ถ้วยตวง
น้ำมันสำหรับทอด 1 ขวด
น้ำตาลฉาบ
น้ำตาลทราย 1 1/2 ถ้วยตวง
น้ำ 1/4 ถ้วยตวง

วิธีทำขนมไข่หงส์

ผสมแป้งทั้งสองชนิดเข้าด้วยกัน นวดกับฟักทองแล้วค่อย ๆ ใส่น้ำปูนใส กะทิ นวดจนเข้ากัน และเนื้อเนียน ปั้นเป็นก้อนกลมขนาด 1 นิ้ว

วิธีทำไส้ขนมไข่หงส์

1. โขลกรากผักชี หัวหอม พริกไทย ให้ละเอียด ใส่น้ำมันในกระทะ เจียวเครื่องที่โขลกให้เหลือง ใส่ถั่วลงผัดปรุงรสด้วยน้ำตาล เกลือให้เข้ากัน ผัดจนแห้ง ปั้นใส้เป็นก้อนกลมเล็กกว่าแป้งนิดหน่อยพักไว้
2. แผ่แป้ง หยิบไส้ใส่หุ้มแป้งให้มิดไส้ คลึงเป็นรูปรีหรือกลม นำไปทอดในน้ำมันร้อนจัด พอเหลืองตักขึ้น
3. ผสมน้ำตาลทรายน้ำ ตั้งไฟเคี่ยวให้เป็นยางข้น ใส่ขนมที่ทอดไว้ลงคลุกจนน้ำตาลจับขนม ตักขึ้นผึ่งให้น้ำตาลแห้งเป็นเกล็ดขาว พักให้เย็นเก็บใส่ภาชนะมีฝาปิด

yengo หรือ buzzcity

ขนมแชงมา หรือ ขนมแฉ่งม้า

ขนมแชงมา หรือ ขนมแฉ่งม้า

ขนมแชงม้าเป็นขนมโบราณ มีชื่อปรากฏอยู่ในเพลงกล่อมเด็กว่า

โอ้ละเห่ โอ้ละหึก ลุกขึ้นแต่ดึก ทำขนมแชงม้า ผัวก็ตี เมียก็ด่า ชนมแชงม้าก็เลยคาหม้อแกง

ขนมแชงม้านี้ มีผู้กล่าวว่าเป็นขนมที่ผสมกันระหว่างขนมปลากริมกับขนมไข่เต่า ถ้าตักกินด้วยกันเรียกขนมแชงม้า ถ้ากินอย่างเดียวก็จะเรียกชื่อตามชื่อเดิม ปัจจุบันนิยมเรียกว่าขนมปลากริมไข่เต่ามากกว่า

ขนมแชงมา หรือ ขนมแชงม้า เป็นชื่อขนมที่มีอยู่ในบทร้องเล่นของเด็กว่า "โอ้ละเหโอ้ละหึก ลุกขึ้นแต่ดึกทำขนมแชงมา..." ขนมแชงมา คือขนมซึ่งปัจจุบันเรียกว่า ขนมปลากริมไข่เต่า แต่เดิมขนมนี้เป็นขนม ๒ ชนิด คือ ขนมปลากริม กับ ขนมไข่เต่า. ขนมปลากริม ใช้แป้งข้าวเจ้าปั้นเป็นตัวยาว ๆ ต้มน้ำใส่น้ำตาลปึก เป็นขนมที่มีสีน้ำตาล. ขนมไข่เต่า ใช้แป้งปั้นเป็นรูปกลม ๆ ต้มกับกะทิและแป้งให้น้ำข้นเล็กน้อย เป็นขนมที่มีสีขาว ใส่เกลือพอเค็ม. บางคนก็ปั้นตัวขนมเป็นตัวยาว ๆ เหมือนกัน ทั้งขนมปลากริมและขนมไข่เต่า. ต่อมามีการนำขนม ๒ อย่างนี้มารับประทานด้วยกัน ทำให้มีรสดีขึ้น และเรียกว่า ขนมแชงมา. แต่ปัจจุบันก็กลับไปเรียกว่า ขนมปลากริมไข่เต่า

yengo หรือ buzzcity

ขนมพื้นบ้านภาคใต้ ขนมแก้อาม

ขนมพื้นบ้านภาคใต้ ขนมแก้อาม

ขนมแก้อามเป็นขนมพื้นบ้านภาคใต้ชนิดหนึ่ง ทำจากแป้งข้าวเจ้า โดยปั้นแป้งข้าวเจ้าที่นวดแล้วเป็นก้อนกลม นำไปต้มในน้ำพอสุก แล้วนำมาตัดเป็นชิ้น จากนั้นนำไปต้มในน้ำกะทิที่ใส่เกลือและกุ้งสดลงไปต้มให้สุก เมื่อเดือดดีแล้วจึงยกลง เมื่อจะรับประทาน ตักใส่ถ้วย โรยต้นหอมและพริกไทย

yengo หรือ buzzcity

ขนมไทยโบราณ ขนมเบื้อง

ขนมไทยโบราณ ขนมเบื้อง



ขนมเบื้องเป็นขนมไทยที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ มีหลักฐานกล่าวถึงในคำให้การขุนหลวงหาวัดว่า "บ้านหม้อปั้นหม้อข้าวหม้อแกงใหญ่เล็ก และกระทะเตาขนมครกขนมเบื้อง" ขนมเบื้องมีหลายแบบ

- ขนมเบื้องแบบไทยดั้งเดิม มีส่วนผสมหลักๆ คือ แป้งข้าวเจ้าและกระทิ ปรุงรสด้วยเกลือเท่านั้น ปัจจุบันไม่ค่อยมีใครทำแล้ว
- ขนมเบื้องไทยแบบชาววัง โดยทั่วไปมี 2 หน้าคือหน้ากุ้งและหน้าหวาน หน้ากุ้งใช้กุ้งแม่น้ำตัวโตสับละเอียดผสมกับพริกไทยและผักชีตำพร้อมมันกุ้ง นำไปผัดใส่น้ำตาล น้ำปลาหรือเกลือให้หอม ปัจจุบันมักเป็นหน้ามะพร้าวใส่สีแดง ส่วนหน้าหวานมีส่วนผสมของฟักเชื่อม ฝอยทองและพลับแห้งที่หั่นบางๆ ปัจจุบันมีแต่ฝอยทองกับครีม อย่างไรก็ตามในวังสวนสุนันทา มีหน้าหมูอีกอย่างหนึ่ง ใช้หมูสับคลุกคล้ากับกระเทียม พริกไทย รากผักชีโขลก ใส่พริกขี้หนู นำไปรวนพอสุก- ขนมเบื้องญวน เป็นขนมที่เข้ามาพร้อมกับเชลยชาวญวนในสมัยรัชกาลที่ 3 ซึ่งถูกกวาดต้อนมาระหว่างสงครามสยาม
-เวียดนาม ขนมนี้ทำจากแป้งละลายกับไข่ให้ข้น ตักแป้งเทลงในกระทะที่ทาน้ำมันไว้ แผ่เป็นแผ่นกลม ใส่ไส้แล้วพับกลาง

สูตรขนมเบื้องไทยไส้หวาน

ระยะเวลา 50 นาที (ไม่รวมหมักแป้ง 1 ชม)

วัตถุดิบขนมเบื้องไทยไส้หวาน

ตัวแป้ง
1. แป้งข้าวเจ้า 1 1/2 ถ้วย
2. แป้งถั่วเขียว 1/2 ถ้วย
3. น้ำตาลทราย 2 ช้อนโต๊ะ
4. ไข่ไก่ (ใช้ไข่แดงผสมน้ำคนให้เข้ากัน) 1 ฟอง
5. น้ำ 1/2 ถ้วย
6. น้ำปูนใส 1/2 ถ้วย

ครีม
7. ไข่ขาว (ไข่เป็ด) 3 ฟอง
8. น้ำตาลทราย 1/2 ถ้วย
9. น้ำมะนาว / ครีมออฟทาร์ทาร์ 1/2 ช้อนชา

โรยหน้า
10. มะพร้าวทึนทึก (ขูดบางสั้นๆ) 1 ถ้วย
11. ฝอยทอง 1/2 ถ้วย
12. งาขาว (คั่ว-บุบพอแตก) 1/4 ถ้วย

วิธีทำขนมเบื้องไทยไส้หวาน

1. แป้งขนมเบื้อง - อ่างใส่ของแห้ง (แป้งข้าวจ้าว แป้งถั่ว น้ำตาลทราย) คลุกให้เข้ากัน ใส่ไข่แดงที่ผสมน้ำไว้ เทสลับกับ น้ำปูนใส ทีละน้อย นวดพอให้แป้งจับตัวเป็นก้อน นวดให้จนนุ่มมือ ดูแป้งขึ้นเงา (นวดประมาณ 5 นาที) คลายแป้งด้วย น้ำปูนใส น้ำที่ผสมไข่ (ที่เหลือจนหมด) นวดคลายอย่าให้แป้งเป็นเม็ด ปิดฝาหมักไว้ 1 ชั่วโมง
2. ทำขนมและใส่หน้า – ตั้งกะทะขนมเบื้องหรือกระทะทองแบนใช้ไฟอ่อน เอาที่ละเลงขนมเบื้องจุ่มแป้ง ละเลงในกระทะเป็นวงกลม รอแป้งสุก (แป้งเริ่มแห้ง) ทาด้วยน้ำตาลปีบที่ผสมไข่ขาว (ละเลง) ให้สุกจะแห้งเปลี่ยนเป็นสีขาวฟูขึ้น ใส่ไส้ตามต้องการ ถ้าเป็นหน้าหวานให้ใส่ตามลำดับ มะพร้าวทึนทึกขูด ฝอยทองา ดูขอบแป้งเริ่มเปลี่ยนสี ใช้เกรียงแซะขอบแล้วพับครึ่ง ตักพักบนตะแกรงให้เย็นตัว (ถ้าใส่ภาชนะขณะร้อน ไอน้ำจะออกทำให้แป้งนิ่มได้)

สูตรขนมเบื้องไทยไส้เค็ม

ระยะเวลา 50 นาที (ไม่รวมหมักแป้ง 1 ชม)

วัตถุดิบขนมเบื้องไทยไส้เค็ม
1. ตัวแป้งและครีม - ดูจากคลิปขนมเบื้องไส้หวาน

ไส้เค็ม
2. กุ้ง (ล้าง-ปอกเปลือก-ชักไส้-เก็บมันที่หัวไว้-สับเนื้อหยาบๆ) 1/2 ถ้วย
3. มะพร้าวขูดขาว 1/2 ถ้วย
4. ใบมะกรูด (ซอย) 1/4 ถ้วย
5. น้ำตาลทราย 2 ช้อนโต๊ะ
6. เกลือ 1/2 ช้อนชา
7. พริกไทย 1/4 ช้อนชา

โรยหน้า
8. ผักชี (ซอย) 1/2 ถ้วย

วิธีทำขนมเบื้องไทยไส้เค็ม

1. ไส้เค็ม – กุ้งสับกับมะพร้าวขูดขาว กะทะใส่น้ำมันเล็กน้อย ผัดมันกุ้ง ตักผักไว้ ใส่กุ้งสับกับมะพร้าว ผัดพอสุก ปรุงรสด้วย เกลือ น้ำตาล พริกไทย ผัดให้เข้ากัน โรยด้วยมะกรูดซอย
2. ทำขนมและใส่หน้า – ตั้งกะทะขนมเบื้องหรือกระทะทองแบนใช้ไฟอ่อน เอาที่ละเลงขนมเบื้องจุ่มแป้ง ละเลงในกระทะเป็นวงกลม รอแป้งสุก (แป้งเริ่มแห้ง) ทาด้วยน้ำตาลปีบที่ผสมไข่ขาว (ละเลง) ให้สุกจะแห้งเปลี่ยนเป็นสีขาวฟูขึ้น ใส่ไส้ตามต้องการ ไส้เค็มใส่ตามลำดับ มะพร้าวทึนทึกขูด (ไม่ใส่ก็ได้) หน้ากุ้ง ผักชีซอย ดูขอบแป้งเริ่มเปลี่ยนสี ใช้เกรียงแซะขอบแล้วพับครึ่ง ตักพักบนตะแกรงให้เย็นตัว (ถ้าใส่ภาชนะขณะร้อน ไอน้ำจะออกทำให้แป้งนิ่มได้)



ที่มา http://www.foodtravel.tv


yengo หรือ buzzcity

ขนมเปี๊ยะ

ขนมเปี๊ยะ



ขนมเปี๊ยะ เป็นผลิตภัณฑ์ขนมอบอีกชนิดหนึ่งที่นิยมรับประทานกันเพิ่มมากขึ้น มีวางขายควบคู่ไปกับขนมอื่นๆ ทัวไป ผลิตภัณฑ์ขนมเปี๊ ยะ มีการผลิตหลายรูปแบบแตกต่างกัน เช่น เปี๊ยะใหญ่ เปี๊ยะกุหลาบ เปี๊ยะทานตะวัน เปี๊ยะโมจิ หรือเปี๊ยะนมข้น เปี๊ยะไหว้พระจันทร์ และเปี๊ยะลูกเต๋า การทำาขนมเปี๊ยะหลัก ๆ จะแยกเป็นสองส่วนคือ เปลือกแป้ง และตัวไส้ เปลือกของแป้งขนมเปี๊ยะที่มีเปลือกแป้งนิ่ม เช่น เปี๊ยะไหว้พระจันทร์ เปี๊ยะลูกเต๋า เปี๊ยะโมจิ อีกชนิดหนึ่งเปลือกแป้งจะมีความกรอบร่วนเป็นชั้น ๆ ที่เกิดจากการรีดพับทบ เช่น เปี๊ยะใหญ่ เปี๊ยะกุหลาบ เปี๊ยะทานตะวัน เป็นต้น

ความร้เกี่ยวกับขนมอบประเภทขนมเปี๊ยะ

วัตถุดิบที่ใช้ในการทำาขนมเปี๊ยะ 

1) แป้งสาลี ใช้แป้งสาลีที่มีกลูเตนสูง เช่น แป้งขนมปังไม่เหมาะที่จะนำามาใช้ทำเปลือกขนมเปี๊ยะ เพราะแป้งชนิดนี้จะดูดซึมน้ำได้เร็ว กลูเตนเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วทำให้แป้งเหนียวและแข็ง แป้งที่มีกลูเตนต่ำ เช่น แป้งเค้กก็ไม่เหมาะที่จะนำามาทำาเปลือกขนมเปี๊ยะ เพราะแป้งเค้กจะดูดซึมน้ำ และเก็บน้ำไม่ได้มากจะเป็นผลทำให้แป้งที่ผสมแล้วเหนียวเหนอะหนะ ปั้นไม่ได้ แป้งที่เหมาะสำาหรับการทำเปลือกขนมเปี๊ยะควรเป็นแป้งเอนกประสงค์

2) น้ำ เป็นองค์ประกอบหลักที่สำคัญ โดยเป็นตัวละลายส่วนผสมอื่น ๆ เช่น น้ำตาล เกลือ ช่วยควบคุมอุณหภูมิของแป้ง ควบคุมความหนืด และช่วยทำให้เก็บผลิตภัณฑ์ได้นานขึ้น

3) น้ำตาล ขนมเปี๊ยะส่วนใหญ่นิยมใช้น้ำตาลทรายเป็นหลัก ทั้งการผสมเปลือกขนมเปี๊ยะและการใช้น้ำ
ตาลสำหรับไส้ขนม ซึ่งจะทำให้ขนมอยู่ได้นานวันโดยไม่ขึ้นรา เพราะน้ำตาลที่มีรสหวานจัดในไส้จะช่วยให้เกิดเชื้อจุลินทรีย์ได้ช้าทั้งยังให้ความชุ่มชื้นในขนม ปริมาณของน้ำตาล จะทำให้เปลือกขนมเปี๊ยะมีสีที่ดี การทำขนมเปี๊ยะ บางครั้งก็ใช้น้ำตาลในรูปแบะแซด้วย

4) ไขมัน ไขมันที่นิยมทำขนมเปี๊ยะส่วนใหญ่จะใช้น้ำมันหมูเพราะนอกจากจะแข็งตัวแล้วยังให้กลิ่น รสที่ดี และเป็นตัวทำให้ขนมนุ่มน่ารับประทาน แต่ในขณะเดียวกันผู้ทำขนมเปี๊ยะมีความจำเป็นในธุรกิจการขายได้ทุกบุคคล และเพื่อความสะดวกต่อการใช้ราคาถูก จึงหันมาใช้น้ำมันพืชในการทำขนมเปี๊ยะ การใช้น้ำ
มันหมูหรือน้ำมันพืชในการทำขนมเปี๊ยะ ช่วยทำให้เกิดความคงตัว และทำให้มีลักษณะโครงสร้างเฉพาะ และมีกลิ่นรสที่ดี

5) ไข่ การทำขนมเปี๊ยะส่วนใหญ่จะใช้ไข่ไก่ หน้าที่ของไข่ในผลิตภัณฑ์เพื่อเป็นตัวทำให้ผลิตภัณฑ์ขึ้นฟู มีสีเข้มขึ้น เพิ่มคุณค่าทางอาหาร และเพิ่มรสชาติ ผู้ทำขนมเปี๊ยะจะใช้ไข่สำหรับการผสมในตัวขนมเปี๊ยะบางประเภทและที่ขาดไม่ได้คือใช้ไข่ทาหน้าขนมเปี๊ยะ เพื่อให้เกิดสีสวย และมีความน่ารับประทาน

เทคนิคการทำขนมเปี๊ยะกุหลาบ

1. น้ำมันที่ใช้ในส่วนผสมควรใช้นำมันปาล์ม เนื่องจากน้ำมันปาล์มไม่มีกลิ่น ช่วยให้ขนมไม่มีกลิ่นอื่นรบกวน หากใช้น้ำมันรำข้าว

หรือน้ำมันจากเมล็ดพืชจะทำให้ขนมมีกลิ่นหื่น

2. การนวดแป้งชั้นนอกควรนวดให้ส่วนผสมเข้ากันเท่านั้น ไม่จำเป็นต้องนวดจนเนื้อเนียน จะช่วยทำให้คลึงแป้งได้ง่าย

3. ในการผสมส่วนผสม ควรละลายน้ำตาลทรายในน้ำเปล่าก่อน เพราะจะทำให้ระยะเวลาในกานนวดแป้งสั่นลง

4. การคลึงแป้งแต่ละครั้งควรพักแป้งไว้ประมาณ 10 นาที เพื่อให้แป้งคลายตัว เมื่อคลึงแป้งครั้งต่อไป แป้งจะนิ่ม ไม่ขาดง่าย

5. น้ำตาลในแป้งชั้นนอกจะช่วยให้เปลือกขนมมีสีสวย

6. ส่วนผสมไส้นิยมใช้น้ำมันพืชมากกว่ากะทิ เพราะสามารถเก็บได้นานกว่า

7. การไส้แบะแซในไส้ช่วยทำให้ไส้จับตัวเป็นก้อนได้ดี

8. อุณหภูมิที่ใช้ในการอบ ไม่ควรใช้อุณหภูมิสูงกว่าที่กำหนด จะทำให้ขนมแตกหรือไส้ทะลัก หากไส้ขนมแฉะหรือยังไม่แห้งดี

ควรใช้อุณหภูมิในการอบต่ำกว่าที่กำหนดจะช่วยทำให้ขนมไม่แตกหรือไส้ทะลัก

9. การคลึงแป้ง หากคลึงบางเกินไปจะทำให้แป้งติดกันและไม่แยกชั้น

10. ภาชนะที่ใช้กวนไส้ขนมควรเป็นภาชนะที่ทำด้วยทองเหลือง จะทำให้มีสีสวยและไม่ควรใช้ภาชนะที่ทำจากอะลูมิเนียม

เพราะการปนเปื้อนจากอะลูมิเนียมจะทำให้ไส้ขนมมีสีคล้ำ

11. ก่อนอบควรทาหน้าขนมด้วยไข้แดงที่ผสมน้ำเปล่าและเกลือเล็กน้อย จะทำให้ขนมมีสีสันสวยงาม


yengo หรือ buzzcity

ขนมเขียว

ขนมเขียว



ขนมเขียว เป็นขนมพื้นบ้านของจังหวัดปราจีนบุรี ต้นกำเนิดอยู่ที่อำเภอนาดี เป็นขนมลูกผสมระหว่างข้าวเกรียบปากหม้อกับขนมถั่วแปบ เปลือกที่ใช้ห่อข้างนอกใช้แป้งข้าวเจ้าที่เป็นแป้งโม่ โดยผสมข้าวเจ้าแข็ง น้ำปูนใส ใบเตยสับนำไปโม่ด้วยเครื่องโม่จนได้น้ำแป้งสีเขียว นำไปผสมกับแป้งข้าวเจ้าชนิดและแป้งมัน นำไปละเลงบนผ้าขาวบางที่คลุมอยู่บนปากหม้อที่ตั้งน้ำไว้จนเดือด พอสุกแคะใส่จาน ตักไส้ที่ประกอบด้วยถั่วเหลือง มะพร้าวขูด น้ำตาลทราย และเกลือ พับครึ่ง ตักใส่จาน


วิธีการทำ

1. แช่ถั่วเขียวค้างคืน 1 คืนล้างให้สะอากนำไปนึ่งให้สุก
2. ขูดมะพร้าวทึนทึกเป็นเส้นหยาบๆ นำไปนึ่งให้สุก
3. นำถั่วเขียวและมะพร้าว, น้ำตาลทราย, เกลือป่นคลุกเคล้าให้เข้ากันตามสัดส่วน
4. ชิมรสให้อร่อยตามใจชอบ


yengo หรือ buzzcity

ขนมเกสรลำเจียก

ขนมเกสรลำเจียก



* แป้งข้าวเหนียว 1 ถ้วยตวง (สำหรับทำตัวแป้ง)
* หัวกะทิ 1/2 ถ้วยตวง (สำหรับทำตัวแป้ง)
* มะพร้าวขูด 1 ถ้วยตวง (สำหรับทำไส้)
* น้ำตาลมะพร้าว 1 1/2 ถ้วยตวง (สำหรับทำไส้)
* เทียนอบ


วิธีทำขนมไทย ทีละขั้นตอน

1. เตรียมทำไส้โดยนำน้ำตาลมะพร้าวไปผสมกับน้ำเล็กน้อย นำไปตั้งไฟให้ละลาย จึงใส่มะพร้าวขูด เคี่ยวสักพักจึงนำไปอบควันเทียน

2. ทำตัวแป้งโดย นำแป้งข้าวเหนียวนวดกับหัวกะทิ ถ้าชื้นมาก ก็ผึ่งให้หมาด จึงจะยีได้สะดวก แต่แป้งต้องชื้นอยู่เสมอ

3. ตั้งกระทะแบนบนไฟอ่อนๆ ให้ยีแป้งผ่านกระชอนลวดตาละเอียด ๆ หรือแล่ง โรยให้แป้งบางเสมอกันเป็นแผ่นกลม

4. พอแป้งสุก ตักไส้ใส่บนตัวแป้ง ม้วนปิดไส้ แซะขึ้นเรียงใส่โถ อบด้วยควันเทียนให้หอม

yengo หรือ buzzcity

ขนมของชาวไทยมุสลิมในภาคใต้ ขนมอาเก๊าะหรือเปียนา

ขนมของชาวไทยมุสลิมในภาคใต้ ขนมอาเก๊าะหรือเปียนา



ขนมอาเก๊าะ เป็นขนมของชาวไทยมุสลิมในภาคใต้ที่ปรุงจากแป้ง ไข่เป็ด น้ำตาลและกะทิ เนื้อขนมคล้ายขนมหม้อแกง สังขยา รูปร่างคล้ายขนมไข่ เพราะหยอดแป้งลงในพิมพ์ขนมเหมือนกัน แต่พิมพ์ของขนมอาเก๊าะใหญ่กว่า ทำให้สุกด้วยการผิงไฟบนล่าง นิยมรับประทานในเดือนรอมฎอน ซึ่งเป็นช่วงถือศีลอดของชาวมุสลิม “อาเก๊าะ”

ส่วนผสม

โดยทั่วไป จะมีส่วนผสมของแป้งต่างชนิดกัน ได้แก่ ถ้าใช้แป้งข้าวเจ้า จะเรียกว่า อาเกาะบือระห์ ถ้าใช้แป้งมันจะเรียกว่า อาเกาะฮูบี
1. แป้งมัน /ข้าวเจ้า
2. น้ำตาลทรายขาว
3. มะพร้าว / กะทิ
4. ไข่ไก่ (เฉพาะไข่ขาว)
5. เกลือป่น
6. น้ำ

วิธีการปรุง

1. นำแป้งมาผสมน้ำ ไข่ขาว น้ำตาลทราย กะทิ เกลือป่น ตามส่วนและคน/กวนให้เข้ากันจนเป็นเนื้อเดียวกัน
2. นำไปใส่แม่พิมพ์ แล้วย่างไฟทั้งสองด้านจนสุก
3. ยกใส่ภาชนะไว้รับประทาน



yengo หรือ buzzcity

ขนมอาลัว

ขนมอาลัว



ขนมอาลัว เป็นขนมไทยโบราณชนิดหนึ่ง ที่มีมาตั้งแต่สมัยอยุธยาและมีต้นกำเนิดจากประเทศโปรตุเกส มีลักษณะขนาดเล็ก ข้างนอกกรอบแข็งแต่ข้างในหนืดหวาน ปกติมักจะมีสีสันสวยงาม เช่น สีเขียว สีชมพู และสีขาว มีรสชาติอร่อยถูกปากกับคนไทยมานานแล้ว วันนี้เรามาลองทำขนมอาลัวกันดีกว่า โดยวิธีการทำขนมอาลัวก็ไม่ยาก ใครๆสามารถทำเองได้

ส่วนผสม

แป้งสาลีอเนกประสงค์ 1 1/4 ถ้วย
หัวกะทิ (มะพร้าวขูดขาว 400 กรัม) 4 กรัม
น้ำตาลทราย 3 1/2 ถ้วย
ถุงบีบ
ถาด

วิธีทำขนมอาลัว

1. ผสมแป้งสาลีและน้ำตาลทรายเข้าด้วยกัน แล้วค่อยๆใส่หัวกะทิลงไปพร้อมทั้งนวดจนน้ำตาลทรายละลายหมด
2. ใส่น้ำลอยดอกมะลิเพิ่มเข้าไปด้วย เพื่อเพิ่มกลิ่นหอมให้กับขนม แล้วนวดให้ส่วนผสมเข้ากันอีกครั้ง
3. ตักแบ่งส่วนผสมใส่ภาชนะ สำหรับใส่สีตามที่ต้องการ โดยใช้ 1 ภาชนะต่อ 1 สี แล้วใส่สีลงไปคนให้เข้ากัน
4. ตั้งกระทะ ใช้ไฟปานกลาง ใส่ส่วนผสมลงไปกวนให้เร็ว จนแป้งเหนียวข้นและสุกใส ยกลงพักไว้
5. หยอดขนมลงไปบนถาดให้เป็นก้อนกลมๆ แล้วบีบปลายด้านหนึ่งให้ตวัดขึ้นสวยงาม
6. นำถาดขนมไปตากแดดประมาณ 1-2 วัน หรือจนกว่าขนมมีลักษณะแห้งและมีสีนวล
7. นำขนมไปอบด้วยควันเทียน พร้อมเสิร์ฟหรือสามารถเก็บไว้รับประทานในภายหลังได้หลายวัน


กลเม็ดเคล็ดลับ

ถ้าต้องการทำขนมอาลัวใบเตย ให้แบ่งมาใส่น้ำเตย หรือจะใช้ผงโกโก้ หรือกาแฟผสมก็ได้


yengo หรือ buzzcity

ขนมพื้นเมืองไทยใหญ่ ขนมอาละหว่า

ขนมพื้นเมืองไทยใหญ่ ขนมอาละหว่า


เส่งเผ่ และฮาละหว่า

เส่งเผ่ และฮาละหว่า เป็นชื่อของขนมหวานของชาวไทยใหญ่ “เส่งเผ่” มีลักษณะคล้ายขนมข้าวเหนียวแดง ที่ทำจากข้าวเหนียว น้ำอ้อย กะทิ ต่างกันตรงหน้าเส่งเผ่จะราดด้วยหัวกะทิแล้วปิ้ง หรือ อบหน้าจนเกรียม รสชาติหวานมัน ส่วน “ฮาละหว่า” ตัวขนมทำจากแป้งข้าวเจ้า น้ำตาลทราย กะทิ เมล็ดสาคูเล็ก หน้าขนมทำเช่นเดียวกับเส่งเผ่ มีรสชาติหวานมัน แม่ค้าจะทำขนมนี้บรรจุในถาดกลม และตัดขายเป็นชิ้นเล็ก ๆ มีขายในตลาดสดเทศบาล อำเภอแม่สอด

ส่วนผสมได้แก่

1) แป้งข้าวเจ้า 500 กรัม
2) กะทิ 300 กรัม
3) น้ำตาลทราย 200 กรัม
4 ) เกลือ ¼ ช้อนชา

วิธีการทำ

1) นำแป้ง กะทิน้ำตาล ผสมกัน ตั้งไฟอ่อน ๆ กวนให้เข้ากัน จนสุก
2) เทส่วนผสมที่ได้ ลงในถาดกลมขนาดใหญ่ ใช้หัวกระทิ เทราดหน้าขนม
3) ใช้กาบมะพร้าวเผา โดยใช้สังกะสี รองหน้าขนมไว้ เผากาบมะพร้าวจนหน้าขนมเหลือง สวยงาม
4) เมื่อขนมเย็น ตัดเป็นชิ้น ๆ แล้วรับประทาน

ประโยชน์ขนมอาละหว่า

ขนมอาละหว่ามีรสชาติหวาน ใช้รับประทานเป็นอาหารว่าง และนำไปเป็นของฝาก มีขายที่ตามท้องตลาดแต่ที่อร่อยขอแนะนำที่ตลาดสีมอย เป็นขนมที่มีความขึ้นชื่อเรื่องความอร่อย แต่ผู้ที่เป็นเบาหวาน โรคอ้วน ไม่ควรรับประทานมากเกินไปเพราะจำทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพได้

yengo หรือ buzzcity

ขนมหม้อแกง หรือ ขนมกุมภมาศ

ขนมหม้อแกง หรือ ขนมกุมภมาศ



ขนมหม้อแกง หรือ ขนมกุมภมาศ คือขนมที่ใช้ไข่ แป้ง และกะทิเป็นส่วนประกอบสำคัญ นำผสมกันในถาดตามสัดส่วน แล้วจึงนำไปอบจนหน้าของขนมหม้อแกงมีสีน้ำตาลทอง น่ารับประทาน ปัจจุบันมีการทำเผือก เม็ดบัว ถั่ว และหอมเจียว มาผสม และแต่งหน้าขนมหม้อแกง ทำให้ขนมหม้อแกงมีรสชาติที่กลมกล่อมมากขึ้น

ในรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช นับว่าเป็นยุครุ่งเรืองที่สุดของราชอาณาจักรอยุธยา เพราะเป็นยุคที่ไม่มีศึก สงคราม อีกทั้งยังมีคณะทูต และบาทหลวงจากประเทศต่างๆ เข้ามาเจริญสัมพันธ์ไมตรีกับอาณาจักรอยุธยาเป็นจำนวนมาก ในเวลานี้เองมีขุนนางผู้หนึ่งชื่อคอนสแตนติน ฟอลคอน ผู้ซึ่งเป็นคนฉลาด หลักแหลม และมีไหวพริวในด้านการค้ามากกว่าพ่อค้าใดๆทั้งหมด จึงได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ ดำรงตำแหน่ง พยุหเสนา และเป็นตัวกลางทางด้านการค้าของอาณาจักรอยุธยาและประเทศฝรั่งเศส ต่อมาได้แต่งงานกับนางมารี กีมาร์ หรือ ท้าวทองกีบม้า หลังจากที่พระเพทราชาได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้สำเร็จราชการแทนสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เนื่องจากสมเด็จพระนารายณ์มหาราชมีอาการประชวนหนัก พระเพทราชาจึงได้สั่งประหารชีวิตพระยาวิชาเยนทร์ในวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2231 ทำให้ท้าวทองกีบม้าถูกนำตัวไปจำคุกเป็นระยะเวลาเกือบ 2 ปี จึงถูกปล่อยตัว แต่มีข้อแม้ว่าจะต้องทำขนมหวานมาส่งในวังตามอัตราที่กำหนดไว้ ด้วยเหตุที่ว่าท้าวทองกีบม้ามีชื่อเสียงในด้านการทำอาหารคาวหวาน เหตุการณ์ในครั้งนี้นับว่าเป็นจุดเปลี่ยนโฉมหน้าของขนมไทยครั้งสำคัญ เพราะท้าวทองกีบม้าได้เริ่มทำขนมที่ใช้ไข่มาเป็นส่วนประกอบหลัก อาทิ ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง ขนมผิง ขนมพลขนมโปร่ง ขนมทองม้วน ขนมสัมปันนี และขนมหม้อแกง ด้วยรสชาติของไข่และน้ำตาลซึ่งเป็นส่วนประกอบหลักของขนมหม้อแกง ทำให้ขนมหม้อแกงได้รับความนิยมชมชอบจากชนชั้นสูงในวัง และได้รับการขนานนามว่า ขนมกุมภมาส

ต่อมาเมื่อลูกมือในบ้านของท้าวทองกีบม้าได้แต่งงาน ก็ได้นำสูตรและวิธีการทำขนมหม้อแกงออกมาถ่ายทอด ทำให้ชาวบ้าน คนธรรมดา ได้มีโอกาสรู้จักกับขนมหม้อแกง

เมื่อปีพ.ศ. 2529 จังหวัดเพชรบุรี ได้มีการบูรณะพระนครคีรีให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญ ทำให้ชาวบ้านในละแวกนั้นทำขนมหม้อแกงที่สืบทอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่นออกมาจำหน่าย ทำให้ขนมหม้อแกงเป็นขนมที่ขึ้นชื่อของจังหวัดเพชรบุรี


ขนมหม้อแกงสมัยก่อน

ขนมหม้อแกงสมัยก่อนจะทำกินกันเฉพาะในงานสำคัญ เช่น งานบวช หรืองานแต่งงาน ซึ่งขนมหม้อแกงนั้นจะถูกอบในเตาถ่านที่ใช้แผ่นสังกะสีมาคลุมบนถาดขนม แล้วใช้ถ่านหรือกาบมะพร้าวจุดไฟ แล้วเกลี่ยให้ทั่วสังกะสี ขนมหม้อแกงจะได้รับความร้อนทั้งด้านบน และด้านล่าง ทำให้หน้าของขนมหม้อแกงมีลักษณะเป็นสีน้ำตาลทอง

ส่วนผสมจากสูตรของเพิน นางจะคูณสี่เพิ่มเด้อจ้า

* เผือก 250 กรัม
* น้ำเปล่า 4 ถ้วยตวง
* หัวกะทิ 1 ถ้วยตวง
* น้ำตาลปี๊บ 250 กรัม
* เกลือป่น 1/4 ช้อนชา
* ไข่เป็ด 3 ฟอง
* หอมแดงซอยละเอียด 3 ลูก
* ใบเตย 3 ใบ

วิธีทำ

1. นำหอมแดงไปเจียวในน้ำมันจนเหลืองและกรอบ (ระวังไหม้ ควรเจียวด้วยไฟอ่อนๆ )

2. นำเผือกมาปอกเปลือกและนำไปนึ่งจนสุก จากนั้นจึงนำเผือกไปยีให้เป็นชิ้นเล็กๆ

3. ในชามขนาดกลาง, ผสมไข่ น้ำตาลปี๊บและเกลือ แล้วขยำโดยใช้ใบเตยให้เข้ากันดี น้ำตาลละลายหมด จากนั้นจึงใส่หัวกะทิลงไป ขยำต่ออีกจนส่วนผสมเข้ากันดี แล้วจึงนำไปกรองด้วยผ้าขาวบางเพื่อเอาสิ่งสกปรกออก

4. เอาเผือกใส่ลงไปในส่วนผสมที่กรองแล้ว และใส่น้ำมันที่เหลือจากการเจียวหอมแดง (ประมาณ 2 ช้อนโต๊ะ) คนจนส่วนผสมทั้งหมดเข้ากันดี

5. นำส่วนผสมที่ได้ไปกวนด้วยไฟร้อนปานกลางในกระทะทองเหลือง (หรือกระทะเทฟลอนก็ได้) กวนจนส่วนผสมเริ่มข้นก็พอ ถ้ากวนมากเมื่อนำไปอบจะ ไม่น่าทานเพราะจะแตกมัน ที่เรานำมากวนก็เพื่อป้องกันไม่ให้ส่วนผสมแยกชั้นเมื่อนำไปอบเนื่องจากไข่กับกะทิ ไม่เข้ากันดี

6. นำส่วนผสมที่กวนแล้วไปอบ โดยใส่ถาดหรือแบบที่ต้องการ ใช้ความร้อน 180 องศาเซลเซียส (360 องศาฟาเรนไฮต์) อบประมาณ 30 - 40 นาที จากนั้นจึงนำหอมเจียวไปโรยหน้าและอบต่ออีกประมาณ 5 นาที

7. ถ้าอบโดยใส่ถาดไว้ เวลาเสริฟก็ตัดแบ่งเป็นชิ้นขนาดตามความเหมาะสม ถ้าอบโดยใส่แบบอื่นๆไว้ ถ้าขนาดแบบไม่ใหญ่มาก อาจเสิร์ฟได้พร้อมแบบทันที

ที่มา http://goo.gl/Rk7gDS

yengo หรือ buzzcity

ขนมไทย ขนมมันสำปะหลัง

ขนมไทย ขนมมันสำปะหลัง



ขนมมันสำปะหลัง หรือ เข้าหนมมันต้าง เป็นขนมที่มักพบขายทั่วไปตามท้องตลาดในภาคเหนือ ใช้มันสำปะหลังโม่ให้ละเอียด ผสมกับน้ำตาลและเกลือ จากนั้นนำใส่ถาดนึ่ง พอสุกจะมีสีเหลืองและเป็นแป้งใสๆ ทิ้งไว้ให้เย็น ตัดเป็นชิ้นๆ คลุกกับมะพร้าวขูด (ทักษนันท์ อนรรฆพฤฒ, สัมภาษณ์, 5 กรกฏาคม 2550; รัตนา พรหมพิชัย, 2542, หน้า 824)

ส่วนผสม

1. มันสำปะหลัง มันสำปะหลังโม่ 500 กรัม
2. น้ำตาลทราย 400 กรัม
3. มะพร้าว มะพร้าวขูด 1 ถ้วย
4. เกลือป่น 1/2 ช้อนชา
5. น้ำเปล่า 1 ถ้วย

วิธีการทำ

1. มันสำปะหลังโม่ เลือกเอากากที่มีชิ้นใหญ่ออก
2. ใส่น้ำตาล เกลือ และน้ำเปล่า คลุกให้เข้ากัน
3. นวดส่วนผสมจนน้ำตาลละลาย
4. เทขนมใส่ลงในถาด แต่งให้หน้าขนมเรียบ
5. วางในลังถึง นึ่งไฟกลาง ประมาณ 45 นาที
6. นึ่งสุกแล้วทิ้งไว้ให้เย็น ใช้มีดตัดขนมเป็นรูปสี่เหลี่ยม
7. คลุกกับมะพร้าวขูด

เคล็ดลับในการปรุง/เลือกส่วนผสม

ใช้มันสำปะหลังดิบโม่ละเอียด หรือนำมันสำปะหลังนึ่งและบดให้ละเอียด ก่อนนำมาคลุกกับส่วนผสมก็ได้

รายการอ้างอิง

รัตนา พรหมพิชัย. (2542). เข้าหนมมันต้าง. ใน สารานุกรมวัฒนธรรมไทยภาคเหนือ (เล่ม 2, หน้า 824). กรุงเทพฯ:มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์.


yengo หรือ buzzcity

ขนมพื้นบ้านของจังหวัดนครสวรรค์ ขนมฟักเขียวกวน

ขนมพื้นบ้านของจังหวัดนครสวรรค์ ขนมฟักเขียวกวน

ขนมฟักเขียวกวนเป็นขนมพื้นบ้านของจังหวัดนครสวรรค์ นิยมใช้ในงานทำบุญเพราะเชื่อว่าฟักเป็นพืชที่ให้ความเย็น ลักษณะของขนมตัดเป็นชิ้นสี่เหลี่ยม ขนาดพอคำ มีความเหนียว รสชาติหวานมัน โรยถั่วลิสงคั่วหั่นฝอย การทำขนมชนิดนี้ เริ่มจากนำฟักเขียวแก่มาขูดเอาแต่เนื้อแล้วบีบน้ำออก ใส่เนื้อฟักลงในกระทะทอง กวนกับกะทิ น้ำตาลปี๊บ และแป้งข้าวเจ้า จนกว่าขนมจะล่อน ไม่ติดกระทะ แล้วเทใส่ถาด โรยด้วยถั่ว ขนมที่คล้ายกันนี้มีทำที่จังหวัดจันทบุรีด้วยแต่เรียกขนมฟัก

ส่วนผสม


1.ฟักเขียวขูดเป็นเส้น 250 เส้น
2.หัวกะทิ (มะพร้าวขูดขาว ) 200 กรัม 1 ถ้วย
3.แป้งมัน 1/2 ถ้วย
4.แป้งข้าวเจ้า 1/4 ถ้วย
5.แป้งเท้ายายม่อม 1 – 1/2 ช้อนชา/ช้อนโต๊ะ
6.น้ำตาลทราย 1/4 ถ้วย
7.เกลือป่น 1/8 ช้อนชา
8.ถ้วยตะไลหรือถ้วย

วิธีการทำ


1.ผสมแป้งมัน แป้งข้าวเจ้า และแป้งเท้ายายม่อม ลงในชามแล้วผสมหัวกะทิ 1/3 ถ้วย ต่อจากนั้นเริ่มนวดแป้งให้เข้ากัน นานประมาณ 15 นาที แล้วใส่น้ำตาลลงไปจากนั้นนวดต่อจนน้ำตาลละลายซึมลงในแป้ง
2.จากนั้นนำฟักเขียวที่ขูดไว้แล้วและหัวกะทิที่เหลือ เกลือ ผสมให้เข้ากัน
3.ใส่น้ำในก้นลังถึง 3/4 แล้วตั้งไฟให้เดือด นำถ้วยตะไลหรือถ้วยนึ่งให้ร้อนจัด ตักขนมหยอดให้เต็ม หลี่ไฟลงกลางๆ ประมาณ 15-20 นาที จนสุก

เคล็ดลับ


- ขนมฟักเขียว ถ้าใส่กรวยใบตองจะหอมอร่อยกว่าการที่ใส่ถ้วยตะไลหรือถ้วยนึ่ง แต่ขณะที่นึ่งนั้นห้ามใช้ไฟแรง ควรใช้ไฟปานกลาง เพื่อไม่ให้ขนมล้นออกมา จากถ้วย
- วิธีการฟักเลือกฟักที่มีเนื้อแข็ง เพราะเวลาเอามาทำอาหารรสหวานจะต้องใช้ฟักแก โดยดูจากผิวจะแข็งมีนวลขาว ๆ


yengo หรือ buzzcity

ขนมผิง

ขนมผิง

ขนมผิง เป็นขนมที่ทำมาจากแป้งผสมกับน้ำตาล แล้วนำไปอบจนกรอบ มีสีเหลืองนวล



ขนมผิงมีต้นกำเนิดมาจากประเทศโปรตุเกส โดยหญิงสาวที่มีชื่อว่า มารี กีมาร์ หรือท้าวทองกีบม้า ลูกครึ่ง โปรตุเกส-ญี่ปุ่น และเบงกอลที่เกิดในอาณาจักรอยุธยา หลังจากที่ทหารญี่ปุ่นชุดแรกได้เข้ามาเป็นทหารอาสาในแผ่นดินของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ไม่นานนักนางมารี กีมาร์ ก็ได้เข้ารับราชการในตำแหน่งหัวหน้าห้องเครื่องต้น และได้สอนการทำขนมหวาน อาทิ ทองหยอด ฝอยทอง และขนมผิง ให้กับผู้ที่ทำงานอยู่ใกล้ชิดกับเธอและสาวๆเหล่านั้นก็ได้นำสูตรขนมออกมาถ่ายทอดต่อไป

ส่วนผสม

แป้งมัน 3 ถ้วย
หัวกะทิ 1 ถ้วย
ไข่ไก่ใช้เฉพาะไข่แดง 1 ฟอง
น้ำตาลทราย 1 ถ้วย
น้ำมันพืช
เทียนอบ

วิธีทำ

ใส่น้ำตาล หัวกะทิ ลงในหม้อ ตั้งไฟกลาง เคี่ยวจนเป็นยางมะตูม ทิ้งไว้ให้เย็น ใส่ไข่คนให้เข้ากัน ร่อนแป้งมันลงผสม นวดให้เข้ากัน หมักทิ้งไว้ประมาณ 6 ชั่วโมง
นำแป้งที่หมักแล้วมาปั้นเป็นก้อนกลมเล็กขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 ซม. เรียงในถาดที่ทาน้ำมันบางๆ นำเข้าเตาอบที่อุณหภูมิ 360 ฟาเรนไฮต์ ประมาณ 10 นาที หรือจนขนมสุกเป็นสีน้ำตาลอ่อน แซะออกทิ้งไว้ให้เย็น เก็บใส่ขวดโหล อบด้วยควันเทียน



yengo หรือ buzzcity

ขนมไทย ขนมถั่วแปบ

ขนมไทย ขนมถั่วแปบ


ส่วนผสมขนมถั่วแปบ

ส่วนผสมตัวแป้งขนมถั่วแปบ

แป้งข้าวเหนียว 6 ถ้วยตวง
น้ำเปล่า 2 1/2 ถ้วยตวง

ส่วนผสมไส้ขนมถั่วแปบ

มะพร้าวขูดขาว 2 ถ้วยตวง
ถั่วเขียวซีกดิบ 300 กรัม
เกลือ 1 ช้อนชา

ส่วนผสมโรยหน้าขนมถั่วแปบ

งาขาวคั่วบุบ 1 1/2 ถ้วยตวง
น้ำตาลทราย 2 1/2 ถ้วยตวง
เกลือ 3 ช้อนชา

ส่วนผสมคลุกขนมขนมถั่วแปบ

มะพร้าวขูด 1 ลูก


วิธีทำขนมถั่วแปบ

นวดแป้งกับน้ำให้เข้ากัน จนปั้นได้ไม่ติดมือ แบ่งแป้งเป็นก้อนกลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 3/4 นิ้ว ต้มในน้ำเดือด พอแป้งลอยตักขึ้น ใส่ลงในมะพร้าวขูด
แช่ถั่วเขียวในน้ำประมาณ 30 นาที นึ่งให้สุกผสมกับมะพร้าว 2 ถ้วย และเกลือเคล้าให้เข้ากัน ทำไส้ หยิบแป้งที่ต้มแล้วแผ่ให้บาง ตักไส้ใส่พับครึ่งบีบริมให้ติดกัน คลุกด้วยมะพร้าวขูด
ผสมงาคั่วบุบน้ำตาล เกลือคนให้เข้ากันไว้สำหรับโรยหน้าขนม



ที่มา http://goo.gl/HSpHY5

yengo หรือ buzzcity

ขนมไทยโบราณ นมหวานไทย ขนมชั้น

ขนมไทยโบราณ นมหวานไทย ขนมชั้น


เครื่องปรุง + ส่วนผสม ขนมหวานไทย

* แป้งข้าวเจ้า 2 ถ้วยตวง
* แป้งท้าวยายม่อม 2 ถ้วยตวง
* น้ำตาลทราย 5 ถ้วยตวง
* น้ำลอยดอกมะลิ 2 ถ้วยตวง
* กะทิ 6 ถ้วยตวง
* น้ำดอกอัญชัญ 2 ช้อนโต๊ะ (หรือน้ำใบเตยคั้นสด, หรือใช้สีผสมอาหารตามแต่สีที่ต้องการ)


วิธีทำขนมไทย ทีละขั้นตอน

1. นำดอกอัญชันล้างน้ำให้สะอาด นำไปปั่นใส่น้ำแล้วกรองด้วยผ้าขาวบาง เพื่อเตรียมน้ำดอกอัญชัญ กรณีต้องการทำสีเขียวจากใบเตย ก็นำเอาใบเตยไปล้างให้สะอาดและนำไปปั่นใส่น้ำและกรองด้วยผ้าขาวบาง กรณีต้องการสีอื่น อาจใช้สีผสมอาหารแทน
2. นำน้ำลอยดอกมะลิไปตั้งบนไฟอ่อนๆ ผสมน้ำตาลทรายลงไป คนจนละลายดีเสร็จแล้วทิ้งไว้ให้เย็น
3. นำแป้งทั้งสองชนิด ผสมกับกะทิ นวดให้เหนียว จากนั้นใส่น้ำลอยดอกมะลิที่ผสมน้ำตาลแล้ว (ขั้นตอนที่ 2) ลงไปผสมให้เข้ากัน
4. แบ่งแป้งที่ผสมแล้วออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกแบ่งไว้ทำสีขาว และส่วนที่สอง ไว้ทำสีม่วงโดยเติมน้ำดอกอัญชัน (น้ำใบเตยหรือสีผสมอาหาร)ลงไปคนให้เข้ากัน
5. นำถาดที่ต้องการ (หรือแบบพิมพ์ที่เตรียมไว้) ใส่บนลังถึงตั้งบนไฟแรง ๆ พอน้ำเดือดเปิดฝา ตักแป้งสีขาวเทใส่ลงในถาดเกลี่ยให้ทั่วถาดบางที่สุด ปิดฝาเพื่อให้สุกประมาณ 5 นาที เปิดดูแป้งจะมีลักษณะใส จากนั้นตักแป้งสีม่วง (หรือสีที่ผสมลงไป) ใส่ลงไป อีก ทำสลับกันจนแป้งหมด (เคล็ดลับ : ควรใช้ภาชนะที่มีความจุเท่ากันในการตวงแป้งเทแต่ละชั้น เพื่อที่จะได้แป้งที่มีความหนาเท่า ๆ กัน)
6. นึ่งจนขนมสุกทั้งหมด แล้วยกลงทิ้งไว้ให้เย็นประมาณ 2 ชั่วโมงจึงตัดเป็นชิ้นเพื่อเสริฟ (เคล็ดลับ : ก่อนที่จะเทแป้งเพื่อทำชั้นต่อไปทุกครั้ง จะต้องแน่ใจว่าขนมในชั้นล่างนั้นสุกแล้วจริง ๆ ไม่เช่นนั้น แป้งชั้นนั้นจะไม่สุกเลย ถึงแม้จะใช้เวลานึ่งนานเท่าใดก็ตาม)

ที่มา http://www.ezythaicooking.com/free_dessert_recipes/Thai_dessert_kanom_chan_th.html

yengo หรือ buzzcity

ขนมชะมด

ขนมชะมด


ขนมชะมด เป็นขนมที่มีหลักฐานว่ามีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาและสุโขทัย มีกล่าวไว้ในจดหมายเหตุว่า ในตลาดขายขนมหรือป่าขนมมีขนมชะมดขายด้วย



ขนมนี้จัดเป็นขนมเสี่ยงทายในงานแต่งงาน ไส้เป็นถั่วทองแช่น้ำนึ่งสุกโขลกผสมเกลือและพริกไทย เป็น 3 ลูกบีบติดแล้วชุบแป้งทอด ถ้าทอดแล้วแยกออกจากกัน หมายความว่าจะอยู่ด้วยกันไม่ยืด ถ้ายังติดกัน 2 ลูก หมายความว่าจะมีลูกยาก บางทีต้องชุบแป้ง 3-4 ครั้งจึงไม่แตกจากกัน การแตกจากกันของขนมนี้หมายถึงความแตกแยกของคู่สมรส บางครั้งต้องเปลี่ยนคนทำใหม่ เรียกว่า หาหมอมาแก้

ขนมที่ใกล้เคียงกับขนมชะมดได้แก่ ขนมสามเกลอ ซึ่งวิธีทำและรูปร่างคล้ายกันแต่ไส้ต่างไปคือไส้กระฉีกผสมถั่วทองบดหุ้มด้วยแป้งข้าวเหนียวแล้วชุบแป้งทอด กับขนมละมุดที่คล้ายขนมสามเกลอแต่ทำเป็นลูกโดดขนาดใหญ่

ส่วนประกอบและวัตถุดิบ

งาดำ
น้ำตาลอ้อย
ข้าวตอก
น้ำมันพืช
แป้งข้าวเหนียว
แป้งข้าวเจ้า

ขั้นตอนการทำ

1.ผสมแป้งข้าวเหนียวกับกะทิสด แล้วก็ใส่งาดำ น้ำตาลอ้อย ข้าวตอก นำมานวดให้เข้ากันจนเป็นก้อน
2.แล้วก็นำไปปั้นเป็นก้อนกลมๆ เท่าหัวแม่มือ แล้วก็กดลงพิมพ์รูปวงแหวนให้แบนเหมือนเหรียญสิบบาท จากนั้นก็เอาออกจากพิมพ์ไปชุบกับ กะทิผสมแป้งข้าวเจ้า แล้วก็นำลงทอดให้กรอบ เป็นอันเสร็จขั้นตอนการทำขนมชะมดงาดำ

เห็นไหมล่ะ ว่าขั้นตอนการทำนั้นง่าย ส่วนใหญ่แล้วการกินขนมชะมดงาดำนั้น จะกินคู่กับขนมกง ซึ่งเป็นขนมที่ทานคู่กัน ก็จะได้รสชาติที่อร่อยพอดี และเข้ากันมาก เมื่อกินขนมสองอย่างนี้รวมกัน แต่ถ้าทำไม่เป็นหรือไม่อยากทำเอง แต่อยากลิ้มลองในรสชาติ ก็หาซื้อกินได้ทั่วไป เพราะขนมชะมดงาดำนั้น เป็นสินค้า OTOP ที่มีวางขายกันอยู่ทั่วไป

ที่มา http://goo.gl/GLXbY5

yengo หรือ buzzcity

ขนมพื้นบ้านในย่านจังหวัดสมุทรปราการ ขนมจาก

ขนมพื้นบ้านในย่านจังหวัดสมุทรปราการ ขนมจาก



ขนมจาก เป็นขนมพื้นบ้านในย่านจังหวัดสมุทรปราการและบริเวณที่ติดชายฝั่งทะเลอื่นๆ ทำด้วยแป้งข้าวเหนียว ส่วนมากนิยมใช้ข้าวเหนียวดำ มะพร้าวทึนทึกขูดหยาบๆ น้ำตาลมะพร้าว และเกลือเล็กน้อย ที่เรียกว่าขนมจาก เพราะเป็นขนมที่ห่อด้วยใบจากสด ที่ได้จากต้นจากซึ่งเป็นพืชในวงศ์ปาล์มชนิด ขึ้นเป็นกออยู่ตามป่าชายเลนและบริเวณริมน้ำเค็ม ขนมนี้ทำให้สุกด้วยการย่างไฟคล้ายการเผาข้าวหลามแต่ใช้ความร้อนน้อยกว่า

ขนมจาก เป็นขนมพื้นบ้านในแถวย่านจังหวัดสมุทรปราการและบริเวณที่ติดชายฝั่งทะเลอื่นๆ ทำด้วยแป้งข้าวเหนียว ส่วนมากนิยมใช้ข้าวเหนียวดำ มะพร้าวทึนทึกขูดพอหยาบๆ น้ำตาลมะพร้าว และเกลือเล็กน้อย ที่เรียกว่าขนมจากนั้นก็เพราะว่า เป็นขนมที่ห่อด้วยใบจากสด ที่ได้จากต้นจาก ซึ่งเป็นพืชในวงศ์ปาล์มชนิด ขึ้นเป็นกออยู่ตามป่าชายเลนและบริเวณริมน้ำเค็ม ขนมจากนี้ทำให้สุกด้วยการย่างไฟคล้ายการเผาข้าวหลามแต่ใช้ความร้อนน้อยกว่า

ขนมจาก แต่เดิมนั้นเป็นของฝากขึ้นชื่อมีขายอยู่ทุกแห่งในปากน้ำ แม้เป็นเพียงขนมที่มีราคาเพียงแค่บาท สองบาท โดยเฉพาะขนมจากของร้านลิ้มดำรงค์ก็ได้ดำเนินการสืบทอดกันมาเป็นเวลานานกว่า 100 ปีแล้ว โดยร้านจะตั้งอยู่ที่ถนนศรีสมุทร เยื้องทางเข้าท่าเรือข้ามฟากไปพระสมุทรเจดีย์ ซึ่งในปัจจุบันเหลืออยู่เพียงร้านเดียวในจังหวัดเท่านั้น 



เมื่อก่อนนี้ถึงกับมีคนพูดกันเล่นๆ ว่า ถ้าใครมาปากน้ำแล้วไม่ได้ซื้อขนมจาก จะถือว่ายังมาไม่ถึง ด้วยประโยคข้างต้นนี้เองที่สามารถพิสูจน์ความโด่งดังของขนมจากแห่งเมืองปากน้ำได้เป็นอย่างดี แต่เมื่อกาลเวลาได้ล่วงเลยไป พร้อมๆ กับการเข้ามาของความเจริญในรูปแบบต่างๆ ทำให้มีการปรับเปลี่ยนเส้นทางสัญจร มีการตัดถนนขึ้นใหม่เพื่อขจัดปัญหาจราจรแออัด ซึ่งส่งผลให้อาชีพที่ขึ้นชื่อของเมืองนี้ คือร้านค้าขนมจาก พลอยได้รับผลกระทบตามไปด้วย และมีอีกสาเหตุหนึ่งคือ ร้านค้าต่างๆ ต้องปิดตัวเองลงอันเนื่องมาจากแหล่งท่องเที่ยวอื่นๆ ได้นำสูตรขนมจากที่เลื่องลือชื่อนี้ไปดัดแปลง และทำเป็นรูปแบบขนมของฝากนักท่องเที่ยวในสถานที่นั้นๆ ดังนั้นทุกวันนี้ขนมจากเมืองปากน้ำ จึงไม่ใช่ของฝากที่เรจะหาซื้อได้ง่ายๆ อีกต่อไปแล้ว

ขนมจากเป็นขนมหวานพื้นบ้าน ทำจากแป้งข้าวเจ้า เนื้อลูกจาก น้ำตาล มะพร้าวขูดและห่อด้วยใบจากนำไปย่างไฟให้สุก บางครั้งอาจใช้กล้วย ฟักทอง มะพร้าวขูดและห่อด้วยใบจาก นำไปย่างไฟให้สุก บางครั้งอาจใช้กล้วย ฟักทอง แป้งข้าวเหนียวแทนลูกจากและแป้งข้าวเหนียวแทนแป้งข้าวเจ้าได้ ซึ่งมีวิธีทำดังนี้

วิธีทำ... ผสมแป้งข้าวเจ้า น้ำตาลปี๊บ ลูกจากและมะพร้าวขูดเข้าด้วยกันในกะละมัง ห่อแป้งที่ผสมแล้วด้วยใบจาก นำไปย่าง คอยกลับด้านไปมาจนเหลือง เมื่อขนมจากสุกแล้วจะมีกลิ่นหอม แค่นี้ก็ทานได้แล้ว



ลักษณะขนม

เป็นขนมประเภทปิ้ง ทำจากแป้งข้าวเหนียว ผสมเนื้อมะพร้าว ห่อด้วยใบจาก ใบมะพร้าวหรือใบตอง

ส่วนผสม

แป้งข้าวเหนียว 150 กรัม
แป้งข้าวเจ้า 75 กรัม
น้ำตาลทราย 150 กรัม
น้ำตาลปี๊บ 120 กรัม
มะพร้าวทึนทึกขูดฝอย 300 กรัม
เกลือ 1.5 กรัม
น้ำลอยดอกมะลิ หรือน้ำใบเตย 120 กรัม

วิธีทำ

1.ผสมแป้งข้าวเหนียว แป้งข้าวเจ้า น้ำตาลปี๊บ และน้ำตาลทรายให้เข้ากัน ใส่มะพร้าวขูดฝอย และเกลือ เคล้าให้เข้ากันดีอีกครั้ง
2.ตัดใบจากหรือใบมะพร้าวยาวประมาณ 10 นิ้ว เช็ดให้สะอาด ทาน้ำมันพืชด้านในใบเล็กน้อย ตักส่วนผสมประมาณ 1 ช้อนโต๊ะใส่ในใบจากตามยาว ห่อปิดให้มิดกลัดหัวท้ายด้วยไม้กลัด นำไปปิ้งไฟอ่อนๆคอยกลับด้านไปมาจนขนมสุกสังเกตที่ใบจากจะไหม้เกรียมพอสมควร จึงนำขึ้นจากเตาปิ้ง


yengo หรือ buzzcity

ขนมไทยโบราณ ขนมขี้หนู บ้างเรียกขนมทราย

ขนมไทยโบราณ ขนมขี้หนู บ้างเรียกขนมทราย

ขนมขี้หนู เป็นขนมไทยโบราณ บ้างเรียกขนมทราย ทำจากแป้งข้าวเจ้า น้ำเชื่อม โรยหน้าด้วยมะพร้าว การรับประทาน ตักใส่ภาชนะ (จานแบนๆ) โรยด้วยมะพร้าวแก่ขูดฝอยตามชอบ (ไม่ใช่มะพร้าวซึก) ขนมที่ดีจะต้องเป็นเหมือนเม็ดทรายละเอียด ร่วนซุย ไม่จับเป็นก้อน หวานเล็กน้อย หอมชื่นใจเมื่อทาน


วัตถุดิบ

1. แป้งข้าวเจ้า 4 ถ้วย
2. น้ำลอยดอกมะลิ 6 1/2 ถ้วย
3. น้ำตาลทรายขาว 5 ถ้วย
4. มะพร้าวทึนทึก (ขูดฝอยโรยด้วยเกลือนึ่งสัก 3-5 นาที) 1 ซีก
5. เกลือป่น

เครื่องมือ

หม้อ
ชามผสม
ที่นึ่ง

วิธีทำ

1. หม้อใส่น้ำตาลทราย น้ำลอยดอกมะลิ ตั้งไฟพอให้เดือด และน้ำตาลละลาย ยกลงไว้ให้เย็น นำไปหยอดใส่แป้งทีละน้อย จนแป้งอิ่มน้ำ ดูแป้งจะชื้นๆ
2. นำแป้งที่อิ่มน้ำ ใส่ที่ร่อนแป้งแบบละเอียด ใช้ปลายนิ้วช่วยรวนตัวแป้งให้ผ่านตกลงไป ใส่รังถึงที่ปูด้วยผ้าขาวบางไว้ นำไปนึ่งที่ในลังถึงที่ตั้งไฟแรงให้น้ำเดือด 40 – 45 นาที (คอยดูอย่าให้น้ำในลังถึงแห้ง)
3. ใช้ทัพพีตักแป้งที่นึ่งสุกใส่ถาด ตักน้ำเชื่อมใส่ (ถ้าจะผสมสีให้หยดสีใส่ในน้ำเชื่อมได้) เคล้าให้เข้ากัน ดูให้แป้งดูดน้ำเชื่อมจนอิ่มตัว ใส่พักไว้ในถาดให้แป้งแห้งตัว ประมาณ 10-15 นาที ใช้ส้อมขูด เขี่ยเบาๆ จนแป้งกระจายเนื้อดูฟูละเอียด
4. เวลารับประทาน โรยหน้าด้วยมะพร้าวทึนทึกขูด

yengo หรือ buzzcity

ขนมไทย ขนมพื้นบ้านของภาคใต้ขนมกรอก

ขนมไทย ขนมพื้นบ้านของภาคใต้ขนมกรอก



ขนมกรอก เป็นขนมพื้นบ้านของภาคใต้ ทำจากแป้งข้าวเจ้า มีทั้งไส้หวานและไส้คาว การทำขนมนี้เริ่มจากผสมแป้ง ไข่ กะทิ เข้าด้วยกัน ละเลงบนกระทะเป็นแผ่นบางๆ พอสุกตักขึ้น ใส่ไส้ ห่อเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ไส้หวานประกอบด้วย มะพร้าวกวนกับน้ำตาลคล้ายหน้ากระฉีก ส่วนไส้เค็ม ทำจากกุ้งผัดกับเต้าหู้ รสหวานเค็ม ต้องกินกับผักและน้ำจิ้ม


ที่มา 
http://kanomsiam.com/sweets/9
http://th.wikipedia.org/wiki/ขนมกรอก

yengo หรือ buzzcity